2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาความเป็นชาวกรุง ผ่านภาษาในคำร้องเพลงลูกกรุง ระหว่าง ปี พ.ศ. 2507-2526 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 มีนาคม 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยศิรีนครินทรวิโรฒ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่ 2 (50) 
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง องค์ความรู้ และคุณค่าของเพลงไทยสากล[ ] ประเภทลูกกรุงในสังคมไทย ระหว่างปี พ.ศ.2507 – 2526 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นชาวกรุง ผ่านมิติทางด้านภาษาที่ปรากฏในคำร้องของเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุง โดยศึกษาจากบทเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านคำร้อง จากการประกวดรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และเสาอากาศทองคำพระราชทาน ระหว่างปี พ.ศ.2507-2526 ดำเนินการวิจัยตามกรอบการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ฉันทลักษณ์เนื้อเพลง การศึกษาและตีความหมายของถ้อยคำที่นำมาใช้แต่งบทร้อง เพื่ออธิบายให้เห็นถึงลักษณะภาษาแบบชาวกรุงที่ปรากฏในคำร้องที่เชื่อมโยงกับการสร้างภาพแทนของความเป็นชาวกรุง (กรุงเทพ) ผลการวิจัยพบว่า เพลงทุกเพลงใช้หลักการประพันธ์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสัมผัสเสียงคำ ตามแบบร้อยกรองไทย ใช้รูปแบบฉันทลักษณ์แบบร้อยกรองไทยเป็นโครงสร้างในการร้อยเรียงวางคำร้องปรากฏเป็นฉันทลักษณ์ของกวีนิพนธ์อีกรูปแบบหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำในภาษาระดับแบบแผน มีกลวิธีการใช้ถ้อยคำ เช่น การซ้ำคำ การหลากคำ การใช้ศัพท์สูง การปรุงศัพท์ และสื่อสารเรื่องราวด้วยการใช้โวหารและภาพพจน์ คุณสมบัติทางภาษาต่างๆ ที่พบในคำร้องเพลงลูกกรุง ได้แสดงถึงความงามทางภาษาเทียบเท่าบทประพันธ์ของกวี และยังแสดงออกถึงรูปแบบการสร้างภาพแทนของชาวเมืองกรุงสอดคล้องกับการเกิดวาทกรรมสำหรับเรียกเพลงลูกกรุงที่เคยเกิดขึ้นว่า “เพลงผู้ดี” Abstract This article is a part of the doctoral dissertation on the body of knowledge and value of the phleng luk krung genre to Thai society between 1964 and 1982. The objective is to examine the representation of the chao krung (the people of Bangkok) through linguistic analyses of the lyrics of luk krung music. By analyzing the lyrics of songs that garnered the Royal Golden Gramophone Award and the Royal Gold Antenna between 1964 and 1983. The research is conducted in accordance with the qualitative research framework, which consists of documentary research studies, in-depth interviews, analysis of the lyrics' prosody, and the study and interpretation of the lyrics' meaning. Examine the characteristics of the chao krung language that appear in song texts that are associated with the creation of a choa krung representation. Using the prosody style of Thai poetry as a framework for constructing words appears to be a form of poetry, as shown by the research findings. There are numerous words at the conventional level of language. There are strategies for using words, such as repetition, word variety, using an extensive vocabulary, enhancing vocabulary, and communicating messages through rhetoric and imagery. The lyrics of Luk Krung compositions contain various linguistic characteristics. It demonstrates the elegance of language, analogous to a poet's poetry. It also expresses the form of constructing a representative image of the people of Bangkok, consistent with the emergence of a discourse that formerly referred to luk krung songs as phleng phu dee. 
     คำสำคัญ เพลงไทยสากล, ภาพแทน, ภาษาในดนตรี, เพลงลูกกรุง 
ผู้เขียน
617220037-6 นาย ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0