2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 มีนาคม 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     ISBN/ISSN ISSN 2586-9086 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า
     บทคัดย่อ ความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญของทั่วโลก ซึ่งความเครียดเรื้อรัง จะนำไปสู่อาการเจ็บป่วย ส่งผลถึงสุขภาพร่างกายไปจนถึงการนำไปสู่การฆ่าตัวตาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุน ทางสังคม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการบรรยาย การรับชมวีดิทัศน์ สาธิต การปฏิบัติจัดการความเครียด และการติดตามการนำไปใช้ที่บ้าน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติจากเจ้าหน้าที่ ระยะเวลา 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ Paired t–test และ Independent t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจิต ทักษะความรู้ความเข้าใจในการจัดการความเครียด ทักษะการสื่อสารสุขภาพจิต ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพจิต ทักษะการตัดสินใจเพื่อจัดการความเครียด ทักษะการจัดการความเครียดตนเองและการปฏิบัติตนเพื่อจัดการความเครียด มากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความเครียดน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม สามารถส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้ 
     คำสำคัญ การจัดการความเครียด, ผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต 
ผู้เขียน
645110086-5 ว่าที่ ร.ต.หญิง ปราณี เนาวนิตย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0