2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสามารถของเบนโทไนต์ที่ผ่านการปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตึงผิวในการดูดซับโครเมียมและตะกั่ว The efficacy of surfactant modified bentonite for the chromium and lead adsorption 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 มีนาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แระจำปี 2565 "ฝ่าวิกฤตโควิดด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยภัฎเพชรบูรณ์ 
     สถานที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยภัฎเพชรบูรณ์ 
     จังหวัด/รัฐ เพชรบูรณ์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 มีนาคม 2565 
     ถึง 19 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 285-296 
     Editors/edition/publisher คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยภัฎเพชรบูรณ์ 
     บทคัดย่อ การศึกษาความสามารถของเบนโทไนต์และเบนโทไนต์ที่ผ่านการปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตึงผิว เพื่อดูดซับโครเมียมและตะกั่ว เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับแบบกะ (Batch test) สารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ Cetylpyridinium chloride (CPC) และ Phenyl trimethyl ammonium chloride (PTMA) ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาคือ ปริมาณเบนโทไนต์ 0.50 1.00 และ 1.50 กรัม ความเข้มข้นของโครเมียมและตะกั่ว 15 มิลลิกรัมต่อลิตร pH เท่ากับ 5.50 โดยเขย่า 200 รอบต่อนาที และระยะเวลาการกวน 120 นาที ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่าเบนโทไนต์ธรรมชาติ น้ำหนัก 0.50 กรัม เบนโทไนต์ธรรมชาติ มีความสามารถในการดูดซับโครเมียมและตะกั่วเท่ากับ 0.26 และ 1.43 มิลลิกรัมต่อกรัม คิดเป็นร้อยละ 17.53 และ 99.58 ตามลำดับ เบนโทไนต์ที่ปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตรึงผิวด้วย CPC น้ำหนัก 0.50 กรัม มีความสามารถในการดูดซับโครเมียมและตะกั่วเท่ากับ 1.49 และ 1.50 มิลลิกรัมต่อกรัม คิดเป็นร้อยละ 95.56 และ 99.71 ตามลำดับ ส่วนเบนโทไนต์ที่ปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตรึงผิวด้วย PTMA น้ำหนัก 1.50 กรัม มีความสามารถในการดูดซับโครเมียมเท่ากับ 0.06 มิลลิกรัมต่อกรัม คิดเป็นร้อยละ 11.36 และน้ำหนัก 1.00 กรัม มีความสามารถในการดูดซับตะกั่วเท่ากับ 1.50 มิลลิกรัมต่อกรัม คิดเป็นร้อยละ 100.00 ดังนั้นปริมาณเบนโทไนต์ธรรมชาติและเบนโทไนต์ที่ผ่านการปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตึงผิวชนิด CPC ที่เหมาะสมต่อการดูดซับโครเมียมและตะกั่วเท่ากับ 0.50 กรัม ส่วนปริมาณเบนโทไนต์ที่ผ่านการปรับประสิทธิภาพด้วยสารลดแรงตึงผิวชนิด PTMA ที่เหมาะสมต่อการดูดซับโครเมียมและตะกั่วเท่ากับ 1.50 และ 0.50 กรัม ตามลำดับ  
ผู้เขียน
635020054-8 นาย ภาณุวัฒน์ ต้นทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0