2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากต่อสุขภาพช่องปากความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเองและการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการผ่าตัด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 มีนาคม 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ (Journal of Nursing Science and Health) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2822-1133 
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากต่อสุขภาพช่องปาก ความสามารถในการดูแลช่องปาก และการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการผ่าตัด ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2566 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 ราย กลุ่มควบคุมจำนวน 25 ราย และกลุ่มทดลองจำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสุขภาพช่องปาก แบบประเมินความสามารถในการดูแลช่องปาก และแบบประเมินการติดเชื้อแผลผ่าตัดในช่องปาก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ 0.94, 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือจากการสังเกต (inter-rater reliability) ได้เท่ากับ 0.91, 0.94 และ 0.97 ตามลำดับ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการดูแลช่องปากประกอบด้วยวิดีทัศน์ และแผ่นพับการดูแลความสะอาดช่องปากด้วยตนเอง ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ 0.92 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบค่าคะแนนสุขภาพช่องปาก ความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ก่อนและหลังทดลองภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test เปรียบเทียบค่าคะแนนสุขภาพช่องปาก ความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ก่อนและหลังทดลอง ด้วยสถิติ Mann – Whitney U test เปรียบเทียบการติดเชื้อแผลผ่าตัด ด้วยสถิติ Fisher’s Exact test ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนสุขภาพช่องปากน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2) กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนสุขภาพช่องปากน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 3) กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 4) กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความสามารถในการดูแลช่องปากด้วยตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และ 5) กลุ่มทดลองมีการติดเชื้อแผลผ่าตัดภายในช่องปากหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  
     คำสำคัญ การติดเชื้อแผลผ่าตัด ความสามารถในการดูแลตนเอง โปรแกรมการดูแลช่องปาก ผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก สุขภาพช่องปาก 
ผู้เขียน
635060049-7 นาง หนึ่งฤทัย แรงน้อย [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0