2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การประเมินความล้าของกล้ามเนื้อโดยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของพนักงานในอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Assessment of Muscle Fatigue Based on Electromyography in Electronic Assembly Industrial Workers) 
Date of Acceptance 21 March 2024 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 
     Standard TCI 
     Institute of Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     Volume 24 
     Issue
     Month ตุลาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2024 
     Page  
     Abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความล้าของกล้ามเนื้อโดยใช้คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography: EMG) ในพนักงานกระบวนการพันลวดที่ใช้เครื่องพันลวดกับไม่ใช้เครื่องพันลวดในอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ชนิดรับสัญญาณที่ผิวหนัง (Surface electromyography) ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ (Maximum Voluntary Contraction : MVC) และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ผลการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน หลังส่วนล่าง โดยใช้พารามิเตอร์ค่าการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ (MVC) ค่า %MVC ในพนักงานที่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่านั่ง (หลังส่วนบนซ้าย = 26.44 ขวา = 26.32, หลังส่วนล่างซ้าย = 22.75 ขวา = 22.11) มีค่าน้อยกว่าในพนักงานที่ไม่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่ายืน (หลังส่วนบนซ้าย = 32.92 ขวา = 32.39, หลังส่วนล่างซ้าย = 33.64 ขวา = 31.76) ทั้งนี้อาจเกิดจากงานยืนมีการออกแรงที่มากกว่า และขณะที่พนักงานปฏิบัติงานนั่งมีการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวเป็นเวลานานกว่า และจากการศึกษาความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อโดยตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน หลังส่วนล่าง และไหล่ โดยใช้พารามิเตอร์ Median frequency (MF/Time slope) พบว่าตลอดเวลา 8 ชั่วโมงการทำงาน เมื่อพิจารณาค่าความล้าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อที่แบ่งช่วงเวลาการทำงานเช้าและบ่าย ของพนักงานที่ไม่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่ายืน (MF/time slope ในช่วงเช้า: หลังส่วนบนซ้าย =-0.67 ขวา =-1.22 หลังส่วนล่างซ้าย =-0.51 ขวา =-0.61 ไหล่ซ้าย =-0.23 ขวา =-1.47 ในช่วงบ่าย: หลังส่วนบนซ้าย =-0.65 ขวา =-0.81 หลังส่วนล่างซ้าย =-0.50 ขวา =-0.83 ไหล่ซ้าย =-0.84 ขวา =-1.46) และพนักงานที่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่านั่ง (MF/time slope ในช่วงเช้า: หลังส่วนบนซ้าย =0.49 ขวา =0.42 หลังส่วนล่างซ้าย =0.16 ขวา =0.16 ไหล่ซ้าย =-0.06 ขวา =-0.83 ในช่วงบ่าย: หลังส่วนบนซ้าย =-0.45 ขวา =-0.84 หลังส่วนล่างซ้าย =-2.01 ขวา =-2.05 ไหล่ซ้าย =-0.72 ขวา =-1.43) ซึ่งมีค่าความล้าของพนักงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการทำงาน การศึกษาในครั้งนี้พบว่าพนักงานเกิดความล้ากล้ามเนื้อ ดังนั้น ควรมีการวางแผนเฝ้าระวังสุขภาพต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมถึงจัดทำโปรแกรมการออกกำลังกายหรือกายบริหารก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน และหลังทำงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อในพนักงานต่อไป 
     Keyword การยศาสตร์ ความล้ากล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ 
Author
645110002-7 Miss PORNPAILIN TIDAOON [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0