2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  
Date of Distribution 5 March 2024 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ The National Conference on Science Technology and Innovation 2024 (NCSTI 2024) Hybrid Conference “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”  
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Conference Place โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์  
     Province/State บางพลัด กรุงเทพฯ 
     Conference Date 5 March 2024 
     To 5 March 2024 
Proceeding Paper
     Volume 2024 
     Issue พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2567 
     Page 1648-1662 
     Editors/edition/publisher Editors: รศ.ดร.ณรงค์ สังวาระนที, Publisher by: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร https://ncsti.net/ 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเชื่อมโยงเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสารจอด อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน รูปแบบวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู (สำหรับผู้ช่วยวิจัย) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน (สำหรับผู้ช่วยวิจัย) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ท้ายวงจร แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังสิ้นสุดวงจร แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ย ("X" ̅) เท่ากับ 45.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.80 คิดเป็นร้อยละ 76.39 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เฉลี่ย ("X" ̅) เท่ากับ เท่ากับ 23.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.50 คิดเป็นร้อยละ 79.73 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 
Author
645050237-3 Miss NAPASON BOONSOPHON [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0