2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้สมุดงานแบบโต้ตอบ (Interactive Notebook) 
Date of Distribution 5 March 2024 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ The National Conference on Science Technology and Innovation 2024 (NCSTI 2024) Hybrid Conference "วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" 
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Conference Place โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร 
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 5 March 2024 
     To 5 March 2024 
Proceeding Paper
     Volume 2024 
     Issue พิมพ์ครั้งที่ 1 1 มีนาคม 2567 
     Page 1663-1677 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร.ณรงค์ สังวาระนที 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการใช้สมุดงานแบบโต้ตอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการใช้สมุดงานแบบโต้ตอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จํานวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย 1.1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการใช้สมุดงานแบบโต้ตอบ หน่วยที่ 4 สรรสร้างภาษาพัฒนางานเขียน จํานวน 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการวิจัย 2.1) แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ 2.2) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน 2.3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 2.4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาท้ายวงจร 2.5) แบบทดสอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย 3.1)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาท้ายวงจรปฏิบัติการ 3.2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ท้ายวงจรปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 11.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.18 คิดเป็นร้อยละ 76 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนผ่านเกณฑ์จํานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์เฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 15.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.83 คิดเป็นร้อยละ 75.33 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนผ่านเกณฑ์จํานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 
Author
645050236-5 Miss THAWANWIPA SOMKOME [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0