2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 5 เมษายน 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม รายงานสืบเนื่องจากการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/ระดับนานาชาติ และงานบริหารสัมพันธ์ ครั้งที่ 47 ประจําปี 2567 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย  
     สถานที่จัดประชุม โรงแรม ดวงจิตต์ รีสอร์ต แอนด์สปา หาดป่าตอง ภูเก็ต 
     จังหวัด/รัฐ ภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 5 เมษายน 2567 
     ถึง 5 เมษายน 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ O-642 ถึง O-654 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและองค์ประกอบของการบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด 300 คน โดยใช้การวิจัยจากเอกสาร (Document analysis) และการวิจัยเชิงสำรวจ (survey) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และแบบสอบถามการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับอยู่ที่ 0.914 ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติพรรณนาและวิเคราะห์สถิติอ้างอิงโปรแกรม SPSS สำหรับการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มี 3 ตัวบ่งชี้ 2) การสร้างทีมงานที่หลากหลาย มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในการสอนงาน มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การธำรงรักษา บุคลากรที่มีคุณภาพ มี 3 ตัวบ่งชี้ 5) การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพ มี 3 ตัวบ่งชี้ และโมเดลองค์ประกอบของการบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 11 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า x2 = 78.670, df = 60, P-Value = 0.0533, RMSEA = 0.032, SRMR = 0.024, CFI = 0.994, TLI = 0.990 
ผู้เขียน
655050061-5 นาย อารัมภ์ ปลั่งกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum