ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการวงหมอลำคณะประถมบันเทิงศิลป์ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
15 พฤษภาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
สถานที่จัดประชุม |
อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
จังหวัด/รัฐ |
สุรินทร์ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
3 พฤษภาคม 2567 |
ถึง |
3 พฤษภาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
14 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
23-39 |
Editors/edition/publisher |
อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม บรรณาธิการ |
บทคัดย่อ |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องหมอลำ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การ กรณีศึกษาคณะประถมบันเทิงศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม โดยการสังเกต การสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ จำนวน 3 คน ผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และผู้เกี่ยวข้องจำนวน 3 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎี Two-factor และนำเสนอผลการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์ แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 4 ประการ ประกอบไปด้วย 1.โครงสร้างหน้าที่ภายในองค์การ พบว่า โครงสร้างหน้าที่ภายในองค์การ คณะประถมบันเทิงศิลป์ จัดระเบียบโครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก โดยจะสั่งงานลงมาตามสายงานและมีวัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ 2.ลักษณะงานและรายละเอียดเกี่ยวกับงาน พบว่า มีการแบ่งตามทักษะการทำงานของแต่ละคน โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคลลากรในองค์การ โดยแต่ละฝ่ายจะมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน 3.สภาพแวดล้อมภายในองค์การ พบว่า สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย ได้แก่ ระบบการนำภายในองค์การ ระบบโครงสร้างองค์การ ระบบการทำงาน ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสารและการควบคุม 4.จ้างงานและสวัสดิการ พบว่า มีการกำหนดเงินเดือนที่ให้ตามความเหมาะสมของระยะเวลาของการทำงานและทักษะของบุคลากร |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
รางวัลชนะเลิศ บทความดีเด่น "กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านศิลปะและวัฒนธรรม |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
3 พฤษภาคม 2567 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|