2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ประเพณีบุญคูณลาน : กระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
Date of Distribution 15 May 2024 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     Conference Place อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     Province/State สุรินทร์ 
     Conference Date 3 May 2024 
     To 3 May 2024 
Proceeding Paper
     Volume 14 
     Issue
     Page 1153-1165 
     Editors/edition/publisher อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม บรรณาธิการ  
     Abstract จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ของประเพณีบุญคูณลานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้ข้อมูลที่ได้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ได้จากประชากรและกลุ่มเป้าหมาย มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ แบบสนทนากลุ่ม จากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ของประเพณีบุญคูณลานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แผนผังในการจัดงาน ในปี พ.ศ. 2537 แบ่งออกได้เป็น 6 โซน ในปี พ.ศ. 2540 และ ปี พ.ศ. 2541 และ ปี พ.ศ. 2553 แบ่งออกได้เป็น 5 โซน และในปี พ.ศ. 2567 แบ่งออกได้เป็น 10 โซน แนวคิดในการสร้างสร้างสรรค์ประเพณีบุญคูณลาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2537 หลังจากที่รัฐมีอุดมการณ์ที่มุ่งสู่การขับเขื่อนเศรษฐกิจจากนั้นได้มีการหยิบยกเอาประเพณีบุญคูณลานมาพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความแตกต่างและแปลกใหม่ไปจากพื้นที่อื่น เพื่อเป็นการสร้างจุดสนใจและดึงดูดผู้คนให้เกิดความเพลิดเพลินที่ได้มาท่องเที่ยวและสัมผัสผลงานสร้างสรรค์ทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สะท้อนผ่านความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่ในประเพณีบุญคูณลาน โดยได้มีสร้างปราสาทรวงข้าวทรงเศวตฉัตร หรือ ฉัตร 9 ชั้น ในปี พ.ศ. 2540 มีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงระฆังคว่ำ ในปี พ.ศ. 2541 มีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุข ในปี พ.ศ. 2553 มีการสร้างปราสาทรวงทรงพระธาตุพนม และ ในปี พ.ศ. 2567 มีการเปลี่ยนรูปแบบของพิธีเปิดงานให้อยู่ในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังมีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุข ทั้งนี้รูปแบบของปราสาทรวงข้าวในแต่ละช่วงเวลาดังที่ได้กล่าวไปนั้นมีสาเหตุที่มาจากการนำเสนอเพื่อให้เกิดความน่าสนใจในการสร้างภาพจำใหม่ที่ผ่านการสอดแทรกความรู้และความเชื่อในพิธีกรรมที่ปรากฎในประเพณีบุญคูณลานมาใช้เป็นจุดเด่นในการสร้างสร้างสรรค์ โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชล และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวและในการขับเคลื่อน ตลอดจนการผลักดันไปสู่อุตสาหกรรมทางด้านการท่องเที่ยวที่จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้และเศรษฐกิจในชุมชนที่ดียิ่งขึ้น  
Author
655220003-3 Mr. NATTAWUT YUBOLPAN [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum