2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 5 เมษายน 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ/นานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ครั้งที่ 47 ประจำปีการศึกษา 2567 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย และเครือข่ายบริหารการศึกษา 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง ภูเก็ต 
     จังหวัด/รัฐ ภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 5 เมษายน 2567 
     ถึง 5 เมษายน 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 47 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ O-719-729 
     Editors/edition/publisher รองศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ศรีนวล 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงระบบของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 342 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.859) วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์สถิติอ้างอิงโดยการทดสอบค่า Bartlett's Test of Sphericity และค่าดัชนี KMO และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบหลัก 18 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) การมีวิสัยทัศน์แบบองค์รวม มี 3 องค์ประกอบย่อย (2) การจัดการความรู้ส่วนบุคคล มี 4 องค์ประกอบย่อย (3) ความฉลาดทางอารมณ์ มี 5 องค์ประกอบย่อย (4) การสร้างความกลมเกลียว มี 3 องค์ประกอบย่อย และ (5) สมรรถนะเชิงวัฒนธรรม มี 3 องค์ประกอบย่อย โดยโมเดลการวัดองค์ประกอบภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า Chi-square = 96.851 ค่า df = 79 ค่า P-Value = 0.0842 ค่า RMSEA = 0.026 ค่า SRMR = 0.035 ค่า CFI = 0.995 และค่า TLI = 0.990 
ผู้เขียน
655050047-9 นาย ธีรวัฒน์ ดีสวัสดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum