2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของดินถล่มโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องในจังหวัดภูเก็ต 
Date of Distribution 29 May 2024 
Conference
     Title of the Conference The 9th National Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business Administration, Engineering, Science and Technology 
     Organiser สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร 
     Conference Place Deevana Plaza Krabi 
     Province/State กระบี่ 
     Conference Date 29 May 2024 
     To 31 May 2024 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 265-274 
     Editors/edition/publisher สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร 
     Abstract เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่องเได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของดินถล่มอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวของดินถล่มของแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง 3 ประเภท ได้แก่ แบบจำลองซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (SVM), แบบจำลองป่าสุ่ม (RF) และแบบจำลองวิธีการเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด (KNN) และ (2) เพื่อจัดทำแผนที่พื้นที่อ่อนไหวของดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต โดยฐานข้อมูลดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวน 220 จุด ประกอบด้วยข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้อมูลการฝึกอบรม 176 จุด (70%) และกลุ่มข้อมูลการตรวจสอบความถูกต้อง 44 จุด (30%) ร่วมกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดินถล่มทั้งหมด 13 ปัจจัย มาทำการสร้างแบบจำลองแสดงความอ่อนไหวของดินถล่ม จากนั้นทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลองทั้ง 3 ประเภท โดยวัดประสิทธิภาพด้วยพื้นที่ใต้กราฟ (Area Under an ROC Curve : AUCs) ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง RF มีค่าความแม่นยำมากที่สุดโดยมีค่า AUC อยู่ที่ 0.99025 มีพื้นที่มีโอกาสเกิดดินถล่มเท่ากับ 214.67 ตารางกิโลเมตร แบบจำลอง SVM มีค่า AUC อยู่ที่ 0.98440 มีพื้นที่มีโอกาสเกิดดินถล่มเท่ากับ 300.86 ตารางกิโลเมตร และแบบจำลองที่มีค่าความแม่นยำ น้อยที่สุดคือแบบจำลอง KNN มีค่า AUC อยู่ที่ 0.97661 และมีพื้นที่มีโอกาสเกิดดินถล่มเท่ากับ 228 ตารางกิโลเมตร ซึ่งสรุปได้ว่าแบบจำลอง RF เป็นเครื่องมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถนำมาจัดทำแผนที่แสดงความอ่อนไหวของดินถล่มเพื่อใช้ในการวางแผนรับมือกับดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ 
Author
635020029-7 Mr. PANSANG PANGWANGTHONG [Main Author]
College of Computing Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum