2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ปัญหาทางกฎหมายในการขอความยินยอมเพื่อใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ในการสร้างและการใช้ข้อมูลเชิงลึกบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 11 มิถุนายน 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม International Conference on Multidisciplinary Research Trends in the Greater Mekong Subregion (ICGMS 2024) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ICGMS 2024) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมรอยัลนาคารา 
     จังหวัด/รัฐ หนองคาย  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 กรกฎาคม 2567 
     ถึง 26 กรกฎาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่) ยังไม่ทราบ 
     หน้าที่พิมพ์ ยังไม่กำหนด 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การทำกิจกรรมต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก เมทาซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจะเก็บและใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานเพื่อสร้างสถิติและข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้ดูแลเพจ เช่น จำนวนผู้ที่กดถูกใจเพจ การมีส่วนร่วมกับโพสต์ เช่น การแสดงความคิดเห็น การแชร์โพสต์ และอื่นๆ ข้อมูลเชิงลึกของเพจสามารถช่วยให้เพจเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่ผู้ใช้งานสนใจ และยังสามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานและนำมาประมวลผลเสนอโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันบริษัทเกือบทุกบริษัทมีหน้าเพจของเฟซบุ๊ค และเฟซบุ๊คได้ตกเป็นข่าวเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลและการเปิดเผยความเป็นส่วนตัวอยู่บ่อยครั้ง จึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าเพจจะต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้และจะต้องแจ้งให้ทราบถึงการประมวลผลข้อมูลของผู้ใช้หรือไม่ การศึกษาอิสระฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของต่างประเทศเพื่อหาแนวทางการขอความยินยอมในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าเพจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และวิธีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยี่ยมชมเพจ ด้วยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสร้างสถิติที่อ้างอิงจากการเข้าชมเพจด้วยความช่วยเหลือจากตัวกรองของเฟซบุ๊กจึงมีความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะผู้ควบคุมร่วม ดังนั้น เพจจะต้องมีนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อกำหนดที่เมทาและผู้ดูแลเพจได้ตกลงร่วมกันเพื่อกำหนดความรับผิดชอบของตนในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วิธีการรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และการขอความยินยอมเพื่อใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และผลการศึกษายังนำไปสู่ข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้มีการกำหนดคำนิยามคำว่า”ผู้ควบคุมร่วม” และคำว่า”ยินยอม” เพิ่มเติม คำสำคัญ : ความยินยอมในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างและการใช้ข้อมูลเชิงลึก  
ผู้เขียน
645450049-6 น.ส. พรชนก ทีหลวง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum