ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
26 พฤษภาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
ประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 11 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9 "การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วย BCG Model" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยและสถาบันเครือข่าย |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
26 พฤษภาคม 2567 |
ถึง |
26 พฤษภาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
11 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
207 |
Editors/edition/publisher |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล |
บทคัดย่อ |
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตามกระบวนการพัฒนา Planning, Action, Observation และ Reflection กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือวิจัย 1) เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฯ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาล แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์โดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มีความแตกต่างของสมรรถนะของทีมพยาบาล การฟื้นฟูความรู้ยังขาดความต่อเนื่องและไม่มีโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลที่ชัดเจน จึงได้ระดมสมองร่วมกันออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลด้านวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง โดยทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้กรอบสมรรถนะวางแผนจำหน่าย 4 ด้าน ประกอบด้วย ประเมินปัญหาความต้องการวางแผนจำหน่าย คัดกรองปัจจัยเสี่ยงป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ให้ความรู้ญาติหรือผู้ดูแลก่อนกลับบ้านและการพยาบาลป้องกันภาวะแทรกซ้อน โปรแกรมที่พัฒนาใช้แนวคิดสมรรถนะพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองและการวางแผนจำหน่ายดูแลต่อเนื่อง และการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลด้านความรู้ ด้านทักษะ การปฏิบัติหลังได้รับโปรแกรม วิธีการพัฒนาสมรรถนะใช้รูปแบบประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะและการนิเทศ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2) นำโปรแกรมไปปฏิบัติ (Action) 3) การประเมินผล (Observation) 4) การสะท้อนข้อมูล (Reflection) สรุป โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เสริมสร้างสมรรถนะด้านวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|