ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การวิเคราะห์การเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
31 พฤษภาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมทางวิชาการ ระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 11 ประจำปี 2567 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
จังหวัด/รัฐ |
พิษณุโลก |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
2 พฤษภาคม 2567 |
ถึง |
2 พฤษภาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2567 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
1229-1241 |
Editors/edition/publisher |
วิริยา หมอแสน, นฤมล ช่างศรี และสมนึก วรวิเศษ |
บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 คน คัดเลือกโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 คาบ ใบกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงวิเคราะห์ตามกรอบการเรียนรู้เชิงรุกของ NITS (2018) และกรอบวิธีการแบบเปิดของ Inprasita (2022)
ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด ในขั้นที่ 1 การนำเสนอปัญหาปัญหาปลายเปิด นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยนักเรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้จากสถานการณ์ปัญหาที่ครูนำเสนอจากนั้นนักเรียนจึงมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและครูผู้สอนซึ่งสิ่งนี้เกิดเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ ในขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการแก้ปัญหาด้วยตนเองกับเพื่อนๆ ในขั้นที่ 3 การอภิปรายและการเปรียบเทียบแนวคิดของนักเรียนทั้งชั้นเรียน นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการอภิปรายและแลกเปลี่ยนแนวคิดของเพื่อนที่เหมือนและต่างจากของตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ในขั้นที่ 4 การสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นทั้งชั้นเรียน นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งผ่านสรุปเชื่อมโยงแนวคิดของตนเองและเพื่อนๆจนเกิดเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของตนเองและสามารถนำเครื่องมือไปต่อยอดในการเรียนรู้ต่อไปได้ จะเห็นได้ว่าชั้นเรียนคณิตศาสตร์ทีสอนด้วยวิธีการแบบเปิดจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|