2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สู่การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น 
Date of Distribution 15 May 2024 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     Conference Place อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     Province/State สุรินทร์ 
     Conference Date 3 May 2024 
     To 3 May 2024 
Proceeding Paper
     Volume 14 
     Issue
     Page 1139-1152 
     Editors/edition/publisher อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม บรรณาธิการ 
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สู่การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น โดยใช้กระบวนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการรวมรวมข้อมูลจากเอกสารและการสำรวจจากภาคสนาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาวิเคราะห์ตามแนวคิดโครงสร้างแบบ 3 องค์ (Act Structure) และนำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เกิดจากกลุ่มชาติพันธุ์โส้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่จังหวัดสกลนคร พบชาวโส้ที่อาศัยอยู่ที่อำเภอกุสุมาลย์เยอะที่สุดในจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการนับถือผีผสมผสานกับพระพุทธศาสนาเห็นได้จากพิธีกรรมของชาวโส้ อำเภอกุสุมาลย์ ชาวไทโส้แต่เดิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แถบลุ่มน้ำโขงทำให้มีความเชื่อสัมพันธ์กับผี เนื่องจากชาวไทโส้มีการนับถือผีก่อนที่จะนับถือพระพุทธศาสนา จึงปรากฏพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผี ชาวโส้จึงมีพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงผีควบคู่กับการนับถือพุทธศาสนา โดยสิ่งที่แสดงออกด้านวัฒนธรรมได้ชัดเจนที่สุดคือพิธีกรรมเหยา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรักษา เรียกขวัญ บนบานและความเป็นความตาย ส่วนของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นได้ทำการผลิตภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในพิธีกรรมเหยาโดยใช้เทคนิคด้านการผลิตภาพยนตร์ที่มี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1.ขั้นตอนการเตรียมงานผลิต 2.ขั้นตอนการผลิต 3.ขั้นตอนหลังการผลิต โดยในการสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของหมอเหยาหรือแม่แก้ว ผ่านวิถีชีวิตของคนในชุมชน พิธีกรรม ความเชื่อความศรัทธาและความรัก โดยเปิดมุมมองของยุคปัจจุบันที่คนในสมัยนี้ไม่มีขอบเขตทางด้านเพศ เล่าเรื่องราวผ่านความรักและพิธีกรรม ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความเชื่อของพิธีกรรมเหยา การรักษาโรค และความตาย ถ่ายทอดภาพยนตร์สั้นผ่านกระบวนการทางความเชื่อในพิธีกรรม คำสำคัญ (Keywords) : ความเชื่อ, พิธีกรรมเหยา, กลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้, ภาพยนตร์สั้น  
Author
655220016-4 Mr. ADISORN ANSONGKHRAM [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลชนะเลิศบทความดีเด่น "กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" รูปแบบการนำสนอโปสเตอร์ 
     Type of award รางวัลด้านศิลปะและวัฒนธรรม 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     Date of awarding 3 พฤษภาคม 2567 
Attach file
Citation 0

<
forum