2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการสร้างสรรค์ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่จากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนกู่กาสิงห์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 8 สิงหาคม 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2567 (FAR10) Exclusion - Inclusion in New Isan Art : Reimaging Rebranding and Reinterpreting 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 8 สิงหาคม 2567 
     ถึง 8 สิงหาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่) 10 
     หน้าที่พิมพ์ 327-338 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด และสร้างแนวทางการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่จากการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่ได้จากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลที่ได้จากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องในการให้องค์ความรู้ด้านทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างสำหรับกลุ่มผู้รู้จำนวน 3 คน ในการให้องค์ความด้านทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์และการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบสิ่งทอ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าในชุมชนกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มีทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้และจับต้องได้เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีสรงกู่ พิธีกรรมการปลูกข้าว งานบุญฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน วรรณกรรมต่างๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าเอกลักษณ์ของชุมชนที่เป็นจุดโดดเด่นประกอบด้วย 3 เรื่อง เรื่องแรกความเชื่อและศรัทธาของคนในชุมชนต่อโบราณสถาน และรูปแบบสถาปัตยกรรมกู่กาสิงห์ รวมถึงผ้าไหมทอมือที่มีลวดลายเอกลักษณ์ของชุมชนอย่างลายเต่าทอง ซึ่งมีความหมายอันเป็นมงคลในการสร้างลวดลายของทางกลุ่ม และพิธีกรรมการปลูกข้าวของคนในชุมชนที่เป็นความเชื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำนาของคนในชุมชนที่ได้ขึ้นชื่อเป็นศูนย์กลางแห่งผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีชื่อของประเทศ จึงสามารถสรุปเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่สื่อถึงทุนทางวัฒนธรรมในชุมชนกู่กาสิงห์ได้คือ “สมบูรณ์อุดมศรัทธา วิถีกู่กาสิงห์” โดยออกแบบทั้งหมด เป็น3 ลวดลาย ที่มีลวดลายสื่อถึงอุดมการณ์ความศรัทธาต่อความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตให้มีความเป็นอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชนกู่กาสิงห์ ผ่านองค์ประกอบศิลป์และโทนสีธรรมชาติน้ำตาล เขียว เหลือง และได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบสิ่งทอทั้งหมด 3 ท่าน โดยมีความคิดเห็นว่าลวดลายสื่อถึงทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์มีการถอดเส้น สีและรูปร่างมาใช้ในการออกแบบ ลวดลายมีความความสวยงามมีความร่วมสมัย เป็นลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่สามารถสะท้อนถึงความศรัทธาความอุดมสมบูรณ์ที่เป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกู่กาสิงห์ ผ้าไหมงามกู่กาสิงห์สามารถนำไปต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยในอนาคตได้  
ผู้เขียน
655220015-6 นาย สถาพร คำจัตุรัส [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum