2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 เมษายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักประชากรไทย 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพฯ (สามย่าน) 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 เมษายน 2566 
     ถึง 27 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 17-33 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง มีหน่วยในการวิเคราะห์ระดับปัจเจก กลุ่มตัวอย่างคือ แรงงานหญิงอีสานที่ย้ายถิ่นไปทำงานในพื้นที่ภาคกลาง (26 จังหวัด) จำนวน 1,713 คนจากข้อมูลทุติยภูมิระดับย่อยโครงการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งเก็บข้อมูลเมื่อตุลาคม-ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ​ผลการวิจัยพบว่า แรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นส่วนใหญ่เป็นคน Gen Y (24-41 ปี) และคน Gen X (42-56 ปี) สมรสแล้ว ร้อยละ 71.3 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 29.4 และ 23.2 ตามลำดับ มากกว่าครึ่งหนึ่งย้ายถิ่นไปทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอยู่อาศัยในเขตเมือง และมากกว่าร้อยละ 60.0 อาศัยอยู่ในถิ่นปลายทางมากกว่า 15 ปี อีกทั้งแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นร้อยละ 72.9 มีสถานภาพการทำงานในทักษะระดับ 2 (ตามแนวทางการจำแนกของการจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ)ได้แก่ เสมียน พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง ช่างฝีมือ และผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ และรองลงมาคือทักษะระดับ 1 คือผู้ปฏิบัติงานอาชีพพื้นฐาน ร้อยละ 17.6 และพบว่า ช่วงวัย สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา พื้นที่ปลายทาง และระยะเวลาการอยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเป็นที่น่าสังเกตว่าแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานในทักษะระดับที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้จัดการ ข้าราชการและผู้บัญญัติกฎหมายแสดงให้เห็นว่าระดับการศึกษามีความสำคัญอย่างมากต่อสถานภาพการทำงานในทักษะระดับสูงของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่น 
ผู้เขียน
655080056-6 นาย กิตติพิชญ์ พรหมโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum