2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title สถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง 
Date of Distribution 27 April 2023 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2566 
     Organiser สมาคมนักประชากรไทย 
     Conference Place ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพฯ (สามย่าน) 
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 27 April 2023 
     To 27 April 2023 
Proceeding Paper
     Volume 2566 
     Issue
     Page 17-33 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทความนี้มุ่งศึกษาสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง มีหน่วยในการวิเคราะห์ระดับปัจเจก กลุ่มตัวอย่างคือ แรงงานหญิงอีสานที่ย้ายถิ่นไปทำงานในพื้นที่ภาคกลาง (26 จังหวัด) จำนวน 1,713 คนจากข้อมูลทุติยภูมิระดับย่อยโครงการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งเก็บข้อมูลเมื่อตุลาคม-ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ​ผลการวิจัยพบว่า แรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นส่วนใหญ่เป็นคน Gen Y (24-41 ปี) และคน Gen X (42-56 ปี) สมรสแล้ว ร้อยละ 71.3 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 29.4 และ 23.2 ตามลำดับ มากกว่าครึ่งหนึ่งย้ายถิ่นไปทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอยู่อาศัยในเขตเมือง และมากกว่าร้อยละ 60.0 อาศัยอยู่ในถิ่นปลายทางมากกว่า 15 ปี อีกทั้งแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นร้อยละ 72.9 มีสถานภาพการทำงานในทักษะระดับ 2 (ตามแนวทางการจำแนกของการจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ)ได้แก่ เสมียน พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง ช่างฝีมือ และผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ และรองลงมาคือทักษะระดับ 1 คือผู้ปฏิบัติงานอาชีพพื้นฐาน ร้อยละ 17.6 และพบว่า ช่วงวัย สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา พื้นที่ปลายทาง และระยะเวลาการอยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานภาพการทำงานของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นในถิ่นปลายทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเป็นที่น่าสังเกตว่าแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่นที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานในทักษะระดับที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้จัดการ ข้าราชการและผู้บัญญัติกฎหมายแสดงให้เห็นว่าระดับการศึกษามีความสำคัญอย่างมากต่อสถานภาพการทำงานในทักษะระดับสูงของแรงงานหญิงอีสานย้ายถิ่น 
Author
655080056-6 Mr. KITTIPITCH PROMMAKOT [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum