2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับกรดฮิวมิกต่อปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมดและสมบัติเคมีของดินบางประการในดินนาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยEffects of Combined Chemical Fertilizer and Humic Acid on Total Organic Carbon andSelected Chemical Properties in a Paddy Soil of Northeast Thailand 
Date of Distribution 9 December 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติครั้งที่ 7 (The 7 th National Soil and Fertilizer Conference)) 
     Organiser คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตร แม่เหี้ยะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
     Province/State เชียงใหม่ 
     Conference Date 7 December 2022 
     To 9 December 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 138-150 
     Editors/edition/publisher คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     Abstract Continuous farming, such as rice cultivation, leads to reducing of soil organic matter. Humic acid (HA) application is an alternative approach which help effectively increase soil organic matter contents because HA is classified as a completed decomposed organic substance. The objectives of this study were (1) to study chemical properties of HA and (2) to study the effect of HA application on total organic carbon and selected soil properties of fine-textured paddy soil in Northeast Thailand. This study was arranged in randomized complete block design with four treatments and three replications under RD6 glutinous rice cultivation on lysimeters for 112 days after transplantation. The treatments consisted of (1) without fertilizer and HA applications (2) chemical fertilizer application without HA (3) combined chemical fertilizer application with HA at 1.5 %w/w, and (4) combined chemical fertilizer application with HA at 7.0%w/w. The results revealed that HA incorporation at both rates into the fine-textured paddy soil help increase more soil pH, electrical conductivity (EC), total organic carbon (TOC), cation exchange capacity (CEC), exchangeable potassium (K), exchangeable sodium (Na), and total nitrogen (N) than the soil without addition of HA. In addition, HA applications did not increase exchangeable calcium (Ca) and exchangeable magnesium (Mg) in soil after harvesting. Combined applications of chemical fertilizer with HA at 1.5 and 7.0%w/w help increase TOC in paddy soil after harvesting at 33 and 55 g kg-1, respectively. Furthermore, TOC is positively associated with soil pH, CEC, exchangeable K, and Na and total N. การทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว อย่างต่อเนื่องนำไปสู่การลดลงของปริมาณอินทรียวัตถุในดินนา การใส่กรดฮิว มิกเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดินนาอย่างมีประสิทธิภาพเพราะกรดฮิวมิกถูกจำแนกเป็นอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว จุดประสงค์ของการศึกษานี้ ประกอบด้วย (1) ศึกษาสมบัติทางเคมีของกรดฮิวมิก และ (2) ศึกษาผลของการใส่กรดฮิวมิกต่อปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมดและสมบัติทางเคมีบางประการของดินนาเนื้อละเอียดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษานี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ตำรับการ ทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ภายใต้สภาพการปลูกข้าวเหนียว กข6 บนถังไลซิมิเตอร์ เป็นระยะเวลา 112 วันหลังปักดำ ตำรับการทดลอง ประกอบด้วย (1) ไม่ใส่กรดฮิวมิกและไม่ใส่ปุ๋ย (2) ใส่ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกร (3) ใส่ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกรร่วมกับกรดฮิวมิกในอัตรา 1.5%w/w และ (4) ใส่ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกรร่วมกับกรดฮิวมิกในอัตรา 7.0%w/w ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเติมกรดฮิวมิกทั้งสองอัตราลงในดินนาเนื้อละเอียดช่วยเพิ่ม พีเอชดิน ค่าการนำไฟฟ้า คาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมด ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ และไนโตรเจนทั้งหมดมากกว่าดินที่ไม่ได้รับการเติมกรดฮิวมิก นอกจากนี้การเติมกรดฮิวมิกไม่เพิ่มปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และ แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินหลังเก็บเกี่ยว ใส่กรดฮิวมิกในอัตรา 1.5%w/w และ 7%w/w ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามแนวทางของเกษตรกรช่วยเพิ่มคาร์บอนอินทรีย์ทั้งหมดในดินนาหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้อยู่ในระดับ 33 และ 55 g kg-1 ตามลำดับ นอกจากนี้ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพีเอชดิน ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ โซเดียม ที่แลกเปลี่ยนได้ และ ไนโตรเจนทั้งหมด 
Author
635030055-0 Miss CHADATHIP PHORAKUN [Main Author]
Agriculture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum