2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การสำรวจการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
Date of Distribution 31 October 2024 
Conference
     Title of the Conference โครงการการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 (แบบออนไลน์) “รัฐ ศาสนา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม สังคม : ปราชญ์ราชันย์ พระจอมเกล้า” 
     Organiser คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 
     Conference Place ออนไลน์ (Zoom Meeting) 
     Province/State  
     Conference Date 31 October 2024 
     To 31 October 2024 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในฐานะวิธีการสอนภายใต้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนามและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Toulmin, S. E. (1958, 2003) ผลการวิจัยพบว่า การโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเกิดขึ้นทั้งหมด 18 ครั้ง โดยแนวคิดของนักเรียนที่จำแนกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นต้องมีของการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ มีลักษณะดังนี้ 1) ข้อมูล เป็นแนวคิดของนักเรียนที่มาจากความรู้เดิมของนักเรียนหรือจากสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้ในชีวิตจริงของนักเรียน 2) ข้อยืนยัน เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาศัยประสบการณ์ร่วมของนักเรียนและสมาชิกในชั้นเรียน และ 3) ข้อกล่าวอ้าง เป็นแนวคิดของนักเรียนที่เป็นหลักการสำคัญที่นักเรียนจะนำไปใช้ในการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหา และองค์ประกอบเพิ่มเติมที่ทำให้การโต้แย้งสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีลักษณะดังนี้ 1) ข้อสนับสนุน เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเมื่อเห็นว่าข้อยืนยันไม่มีน้ำหนักมากพอและนักเรียนมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นจึงนำมาใช้สนับสนุนเพิ่มเติม 2) ข้อขัดแย้ง เป็นแนวคิดของนักเรียนที่ใช้การปฏิเสธที่เป็นข้อยกเว้นว่าข้อกล่าวอ้างนั้นจะไม่เป็นจริงเมื่อข้อกล่าวอ้างนั้นมีลักษณะตามแนวคิดนี้เท่านั้น และ 3) ข้อขยาย เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเพื่อเพิ่มความหนักแน่นให้กับข้อกล่าวอ้างนั้น 
Author
655050021-7 Mr. WUTTHICHAI SILARUAM [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum