ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาส่วนผสมสำหรับการผลิตคอนกรีตบล็อกแบบไม่รับน้ำหนักที่มีส่วนผสมจากวัสดุเหลือใช้ในกระบวนการทำสีคราม |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
23 พฤศจิกายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิครั้งที่ 5 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
23 พฤศจิกายน 2566 |
ถึง |
23 พฤศจิกายน 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
978-616-438-868-0 (e-book) |
หน้าที่พิมพ์ |
125-141 |
Editors/edition/publisher |
คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก วัสดุสำหรับก่อผนัง คอนกรีตบล็อกจากวัสดุเหลือใช้ กากคราม |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกากครามที่เหลือใช้จากการผลิต สีครามมาเป็นวัสดุทดแทนเพื่อลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ หินฝุ่น และทรายที่เป็นส่วนประกอบหลักของคอนกรีตบล็อก การผลิตบล็อกคอนกรีตต้นแบบในการศึกษานี้จึงประกอบด้วยส่วนผสมของ ปูนซีเมนต์ หินฝุ่น ทราย และกากครามที่เหลือจากกระบวนการผลิตครามสำหรับย้อมผ้าจากชุมชนในจังหวัดสกลนคร ในอัตราส่วนผสมที่แตกต่างกัน โดยจะทำการทดลองผลิตบล็อกคอนกรีตจากส่วนผสมที่ใช้อัตราส่วนปริมาณครามที่แตกต่างกัน ได้แก่ ร้อยละ 30, 40, 50, และ 60 ตามลำดับ และจะทำการสังเกตคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของคอนกรีตบล็อกที่ผลิตได้ผลการศึกษา พบว่า การนำกากครามมาเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความละเอียดของผิวพื้นและสีของก้อนอิฐบล็อกคอนกรีต สำหรับตัวอย่างที่ใช้กากครามในปริมาณ 60 เปอร์เซ็นต์จะมีผิวสัมผัสมากกว่า และเมื่อบล็อกที่มีกากครามเป็นส่วนผสมสัมผัสน้ำหรือมีการแช่น้ำจะมีการเปลี่ยนไปเป็นสีออกโทนเขียวเพราะในตัวกากครามยังคงมีสาร (Indigotin) ซึ่งสารนี้จะอยู่ในส่วนของใบและต้น แต่เป็นสารไม่มีสีแต่ละลายน้ำได้ จึงไม่เห็นอิฐที่ผสมกากครามเป็นสีน้ำเงินแต่จะเห็นเป็นสีออกโทนเขียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของวัสดุที่มาจากธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดจากชุมชน แนวคิดดังกล่าวสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการผลิตวัสดุทางเลือกสำหรับงานก่อสร้างที่ไม่รีบน้ำหนักได้ในโอกาสต่อไป
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
1
|
|