2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาศักยภาพย่านศรีจันทร์ผ่านแนวคิดของการเป็นย่านสร้างสรรค์  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 พฤศจิกายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิครั้งที่ 5 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 23 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 165 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในมิติต่างๆของย่านศรีจันทร์ในเมืองขอนแก่น โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดสัณฐานเมือง การออกแบบชุมชนเมืองและการประเมินคุณค่าสถาปัตยกรรม ร่วมกับการสำรวจสภาพแวดล้อมของพื้นที่ศึกษา เพื่อนำไปสู่การชี้ประเด็นปัญหาและข้อจำกัดที่เกิดจากกายภาพของพื้นที่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองตามแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ทั้งในระดับอาคาร ย่านและเมืองผลการศึกษาพบว่าย่านศรีจันทร์มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นย่านสร้างสรรค์ โดยเฉพาะองค์ประกอบในระดับสถาปัตยกรรมมีศักยภาพในการส่งเสริมการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าว แต่ก็พบว่าในระดับสัณฐานเมืองมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงในระดับเมืองส่งผลต่อความซบเซาของย่านและกระทบต่อการใช้พื้นที่กิจกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังพบว่า การประชาสัมพันธ์กิจกรรมพัฒนาย่านที่ผ่านมา ได้ยกประเด็นด้านอาคารเก่าซึ่งถือได้ว่าเป็นภาพจำของย่าน เนื่องจากย่านศรีจันทร์ประกอบไปด้วยอาคารประเภทตึกแถวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในภาพรวมจึงไม่ได้เป็นย่านที่มีความโดดเด่นทางด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมมากนัก แต่ก็พบว่ามีอาคารบางส่วนที่มีคุณค่า ทั้งด้านรูปแบบและมีประวัติความเป็นมาที่ความสำคัญต่อพัฒนาการของย่าน ได้แก่ กลุ่มอาคารสถาบันการเงินที่สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2500 ถึง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองขอนแก่นได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน นอกจากนี้พบว่า การเข้าถึงย่านที่ต้องพึ่งพารถส่วนตัวเป็นหลักทำได้ยาก ทั้งนี้เกิดจากปัญหาของสัณฐานเมือง จึงทำให้เกิดอุปสรรค์ต่อการประกอบธุรกิจและการจัดกิจกรรมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาตามแนวคิดเมืองสร้างสรรค์  
ผู้เขียน
645200001-8 นาย เสฐียรพงษ จันทรลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum