2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 พฤศจิกายน 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่อง ผลงานการวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 ตุลาคม 2567 
     ถึง 29 ตุลาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่) 19 
     หน้าที่พิมพ์ 893-903 
     Editors/edition/publisher ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม/โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     บทคัดย่อ เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมมักมีข้อจำกัดในการรับรู้ทางภาษา การสื่อความหมายและการแสดงออกทางภาษาที่มีพัฒนาการทางภาษาด้านการพูดล่าช้า มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมก่อนและหลังการการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกจากผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมที่ได้รับการวินิฉัยทางการแพทย์ว่ามีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 5 – 9 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันเกมทางภาษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) คู่มือการใช้งานแอปพลิเคชันเกมทางภาษา 4) แบบประเมินทักษะทางภาษา 5) แบบสังเกตพฤติกรรม ในการทำกิจกรรมการพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ 1)ค่าเฉลี่ย 2)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 3) การเปรียบเทียบผลการใช้แอปพลิเคชันด้วยสถิติเปรียบเทียบ The Wilcoxon Rank Sum Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยให้ระดับคุณภาพของความสอดคล้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของเครื่องมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.50–1.00 แสดงให้เห็นว่าคุณภาพเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือและมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการการเปรียบเทียบความสามรถทักษะทางภาษาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลังการการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษา ได้คะแนนรวม ก่อนการทดลอง 56 คะแนน (x ̅=18.67,S.D= 3.28) และหลังการทดลองได้ 241 คะแนน (x ̅=80.67, S.D= 0.55) สรุปได้ว่า หลังการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมสูงกว่าก่อนการใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิที่ระดับ .01 
ผู้เขียน
635050189-7 น.ส. นรินทร เพชรรัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum