Research Title |
การพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาททางอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสู่การเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ |
Date of Distribution |
12 December 2024 |
Conference |
Title of the Conference |
การประชุมวิชาการนานาชาติด้านกิจการสาธารณะครั้งที่ 1 (The First International Conference on Public Affairs: ICPA2024) |
Organiser |
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Conference Place |
โรงแรมพูลแมนขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
Province/State |
ขอนแก่น |
Conference Date |
12 December 2024 |
To |
13 December 2024 |
Proceeding Paper |
Volume |
2024 |
Issue |
1 |
Page |
278-289 |
Editors/edition/publisher |
|
Abstract |
การเติบโตทางเทคโนโลยีและนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ส่งผลให้บริการของภาครัฐต้องปรับตัวให้ทันสมัยกระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทเป็นหนึ่งในบริการภาครัฐสำหรับจัดการความขัดแย้งของประชาชนผ่านกลไกของฝ่ายปกครองโดยศูนย์ดำรงธรรมอำเภอที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ยังไม่สามารถให้บริการในรูปแบบดิจิทัลตั้งแต่เริ่มต้น
จนสิ้นสุดกระบวนการได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ระบุปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทให้เป็นกระบวนการดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหารของกรมการปกครอง ตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้เคยเข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 11 ราย สาเหตุของปัญหาถูกวิเคราะห์โดยใช้ 4M และแผนภาพก้างปลา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอยังไม่สอดคล้องกับแนวคิด NPM และแนวคิด Digital Transformation ส่งผลให้ยังไม่มีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง และสาเหตุของปัญหา คือ ผู้รับบริการยังขาดความรู้และความเข้าใจถึงข้อกฎหมายและความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ปฏิบัติตามกรอบ “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” ส่งผลให้ไม่สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แอปพลิเคชันที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคลอย่าง ThaiD ยังไม่ถูกนำมาบูรณาการเพื่อลงนามในสัญญารูปแบบดิจิทัล การขาดระบบตรวจสอบความถูกต้องของสัญญารูปแบบดิจิทัล และขาดการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาในด้านนี้ และหากพัฒนากระบวนการที่มุ่งสู่การเป็นดิจิทัลที่ให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) จะช่วยให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพและช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการยิ่งขึ้น
|
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
นานาชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|