Research Title |
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบสมาร์ตที่บูรณาการเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดในการออกแบบและนวัตกรรมต้นแบบ
The Development of Smart Learning Environment Integrated with Metaverse to
Enhance Creative Thinking: A Design Framework and Prototype Innovation |
Date of Distribution |
31 December 2024 |
Conference |
Title of the Conference |
การประชุมวิชาการระดับชาตินนทรีอีสาน ครั้งที่ 12 ประจําปี 2567 (Proceeding 2024) “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน” Innovation and Technology for Quality of Life and Sustainable Society |
Organiser |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ |
Conference Place |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ 59 หมู่ 1 ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
Province/State |
จังหวัดสกลนคร |
Conference Date |
14 December 2024 |
To |
14 January 2024 |
Proceeding Paper |
Volume |
12 |
Issue |
1 |
Page |
97-110 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
Abstract |
ในยุคที่การศึกษาต้องการพัฒนาทักษะที่สําคัญ โดยเฉพาะทักษะการคิดสร้างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะ
ที่สําคัญสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเดิมอาจไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมทักษะดังกล่าว เนื่องจากการขาดปฏิสัมพันธ์
และความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามผู้เรียนอย่างยืดหยุ่น ซึ่งทําให้เกิดความจําเป็นในการพัฒนาสภาพแวดล้อม
การเรียนรู้ที่บูรณาการเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต
(Metaverse) โดดเด่นในฐานะที่มีศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเสมือนจริง กระตุ้นการคิด
สร้างสรรค์ โดยผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและผู้เรียนคนอื่นได้ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีความหมาย
และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการออกแบบ
และสร้างต้นแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบสมาร์ตที่บูรณาการเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์
ในนักศึกษาระดับอุดมศึกษา การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ครั้งนี้อิงตามกรอบแนวคิดของ Richey & Klein (2007)
ซึ่งเน้นการสร้างระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ประกอบด้วยการวิเคราะห์
เอกสารและการสํารวจ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 4 ท่าน
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล 3 ท่าน นักศึกษาระดับปริญญาตรี 28 คน และอาจารย์ผู้สอน 3 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบสมาร์ต (Smart Learning Environments:
SLE) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) พื้นฐานทางจิตวิทยา 2) หลักการทางศาสตร์การสอน 3) ระบบสื่อ
และเทคโนโลยี 4) บริบทการเรียนรู้ และ 5) หลักการคิดสร้างสรรค์ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า SLE
มีประสิทธิภาพสูงในด้านเนื้อหา การออกแบบ และการบูรณาการเทคโนโลยี ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาทักษะการคิด
สร้างสรรค์ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ตอกย้ําความสําคัญของ SLE ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นนวัตกรรม
ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการโต้ตอบ และปรับเปลี่ยนได้ นอกจากจะช่วยลดข้อจํากัดของการเรียนรู้
แบบเดิมแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง
ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้เรียน
คําสําคัญ: สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบสมาร์ท เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต กรอบแนวคิดการเรียรรู้ การเสริมสร้าง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมการศึกษา |
Author |
|
Peer Review Status |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Poster |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|