2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์ศักยภาพในการเป็นศูนย์ราชการสะดวก กรณีศึกษา สำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาแวงน้อย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 ธันวาคม 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม THE FIRST INTERNATIONAL CONFERENCE ON PUBLIC AFFAIRS(ICPA2024) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 ธันวาคม 2567 
     ถึง 13 ธันวาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2024 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 103-111 
     Editors/edition/publisher klungnana Vittaya Press 
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ศักยภาพในการเป็นศูนย์ราชการสะดวก กรณีศึกษา สำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาแวงน้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการให้บริการตามเกณฑ์ของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) 2) เพื่อประเมินศักยภาพของสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาแวงน้อย ตามแนวทางของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการยกระดับและพัฒนาเป็นศูนย์ราชการสะดวก(GECC) การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษาแนวทางการให้บริการตามเกณฑ์ของศูนย์ราชการสะดวก พบว่า ในส่วนของกรมที่ดินนั้นเป็นหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การสมัครที่มีงานบริการประชาชน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานจะขอเข้ารับการประเมินเพื่อยกระดับและสร้างความประทับใจให้กับประชาชนผู้เข้ารับบริการ 2) การประเมินศักยภาพของสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาแวงน้อย ตามแนวทางของศูนย์ราชการสะดวกนั้น ยังไม่ถึงเกณฑ์ระดับขั้นพื้นฐานของเกณฑ์ 3) แนวทางในการยกระดับและพัฒนาเป็นศูนย์ราชการสะดวกของสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาแวงน้อย คือ ผู้บริหารควรมีนโยบายการขับเคลื่อนหน่วยงานสู่ศูนย์ราชการสะดวกอย่างจริงจัง มีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณที่มีอยู่ ผู้นำหน่วยงานควรให้ความสำคัญโดยการสนับสนุนและกระตุ้นการขับเคลื่อนเพื่อผลักดันสู่การได้รับมาตรฐานของศูนย์ราชการสะดวก ข้อเสนอแนะคือ 1) ควรกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายการขอรับการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวกให้เป็นที่เข้าใจตรงกันในทุกสำนักงาน การมีอบรมเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรของหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ และอาจมีการเชิญให้ส่วนราชการภายนอกที่มีอัตราการผ่านเกณฑ์สูงมาร่วมให้คำแนะนำในการผลักดันหน่วยงาน  
ผู้เขียน
655280067-1 นาย อดิศักดิ์ พิมพิลา [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum