Research Title |
การศึกษาพัฒนาการรูปแบบพุทธศิลป์ญวนในอีสานใต้ |
Date of Distribution |
2 August 2024 |
Conference |
Title of the Conference |
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจําปี 2567 (FAR10) “Exclusion - Inclusion in New Isan Art : Reimaging Rebranding and Reinterpreting” |
Organiser |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Conference Place |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Province/State |
ขอนแก่น |
Conference Date |
2 August 2024 |
To |
3 August 2025 |
Proceeding Paper |
Volume |
10 |
Issue |
1 |
Page |
539-605 |
Editors/edition/publisher |
|
Abstract |
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง การศึกษาพัฒนาการรูปแบบพุทธศิลป์ญวนในอีสานใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการรูปแบบพุทธศิลป์ญวนในอีสานใต้ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสำรวจภาคสนาม รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอโดยใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์
จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการรูปแบบพุทธศิลป์ญวนในอีสานใต้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาหลักๆประกอบด้วย 1) ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ญวนจำนวนมากได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในเมืองไทยหลายระลอก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคอีสาน กลุ่มช่างญวนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะช่างอาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างที่ฝีมือดี มีเทคนิคด้านวัสดุ ก่อให้เกิดเป็นพุทธศิลป์พื้นถิ่นลักษณะใหม่ที่เฉพาะตัว เป็นส่วนผสมผ่านความเป็นลาว ญวน จีน ตะวันตก ไทย ด้วยเทคนิคการการปั้นปูนประดับเป็นรูปสัตว์ผสมและพรรณพืช ที่แฝงไปด้วยคติสัญลักษณ์ความมงคลแบบจีน ใช้วัสดุตกแต่งพื้นผิวลวดลายด้วยเทคนิคปูนปั้นเขียนสี รวมไปถึงการนำกระป๋องแป้ง กระเบื้องหรือกระจกปรับดับตกแต่งแทนเกล็ดมังกร 2) ช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น รูปแบบความงามที่เป็นพิมพ์นิยมของรัฐถูกส่งผ่านกลไกของรัฐ ด้วยแบบเรียนหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นการปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมและการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยซึ่งเน้นหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ประกอบไปด้วย หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ และหลักการศึกษา รวมไปถึงสถาบันของพระสงฆ์เองก็ถูกกระแสความเป็นไทยถูกปลุกเร้าอย่างเป็นรูปธรรมและรุนแรง ทำให้โลกทัศน์ของผู้เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนรสนิยมทางศิลปะและเชิงช่างอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้แล้วช่วงเวลาแห่งการแสดงออกทางการเมืองเรื่องประชาธิปไตยผ่านคติการนำรูปสัญญะทหาร พานรัฐธรรมนูญ มาประกอบสร้างและตกแต่งจำนวนมากในภาคอีสาน ทำให้ช่างญวนมีการปรับตัวทำรูปแบบงานพุทธศิลป์ให้เป็นไปตามความนิยมของยุคสมัยจนกลืนกันไปในที่สุด
คำสำคัญ: พุทธศิลป์ญวน,อีสานใต้
|
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|