ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ลักษณะสถาปัตยกรรมภายในห้องชุดของคอนโดมิเนียมที่รองรับการเลี้ยงแมวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลInterior Architectural Characteristics of Room Unit of Cat-friendly Condominiums in Bangkok Metropolitan Region |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
23 พฤศจิกายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิ ครั้งที่ 5 “โฮมดี มีแฮง – Well-Being Together” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น, ประเทศไทย |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
23 พฤศจิกายน 2566 |
ถึง |
23 พฤศจิกายน 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
5 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
239-255 |
Editors/edition/publisher |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
บทคัดย่อ |
การเพิ่มขึ้นของคอนโดมิเนียมที่อนุญาตให้เลี้ยงแมวได้ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากวิถีชีวิตคนเมืองที่นิยมอาศัยในคอนโดมิเนียมประกอบกับค่านิยมการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะแมว และปรากฏการณ์ของการเริ่มเกิดขึ้นคอนโดมิเนียมที่รองรับการเลี้ยงแมว คือมีการออกแบบพื้นที่สำหรับแมว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคอนโดมิเนียมที่รองรับการเลี้ยงแมวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมภายในห้องชุดทางด้านกายภาพ เพื่อทราบถึง ประเภทของห้องชุด การวางผังแปลน และองค์ประกอบในการออกแบบต่าง ๆ โดยใช้วิธีการลงพื้นที่สำรวจและสืบค้นข้อมูลทางออนไลน์
โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผ่านการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของคอนโดมิเนียมที่อนุญาตให้เลี้ยงแมวได้และทำการคัดเลือกกรณีศึกษาเฉพาะโครงการที่มีการออกแบบสำหรับแมว เพื่อสำรวจเชิงลึกถึงความสัมพันธ์ที่เกิดภายในห้องชุด จำนวนทั้งหมด 6 โครงการ โดยบริษัทพัฒนาโครงการที่แตกต่างกัน 4 บริษัท ซึ่งทุกโครงการอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ 1-2 ตัว พบว่าโครงการส่วนใหญ่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกยูนิต แต่บางโครงการอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้บางยูนิตเท่านั้น ซึ่งประเภทของห้องชุดที่ขายมากที่สุด คือ 1 Bedroom รองลงมาเป็น Studio, 1 Bedroom plus, Duplex, 2 Bedroom และ Penthouse ตามลำดับ และลักษณะทางสถาปัตยกรรมภายในของห้องชุดที่รองรับการเลี้ยงแมวแต่ละประเภทในแต่ละโครงการ พบว่า เฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ที่มาพร้อมห้องสำหรับแมว มีเพียงแค่บางโครงการ ซึ่งสัมพันธ์กับราคาขายเฉลี่ยต่อตร.ม. ถัดมาในส่วนห้าองค์ประกอบในการออกแบบที่นำมาพิจารณาได้แก่ อากาศ/กลิ่น ช่องแสง เสียง วัสดุ และเทคโนโลยี พบว่าเมื่อเปรียบเทียบแต่ละโครงการมีการออกแบบเพื่อรองรับการเลี้ยงแมวที่คล้ายคลึงกัน แต่พบการออกแบบที่พิเศษในบางโครงการ โดยขึ้นกับบริษัทที่พัฒนาโครงการ ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางสถาปัตยกรรมภายในของห้องชุดที่รองรับการเลี้ยงแมวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทางด้านกายภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการออกแบบภายในห้องชุดที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|