ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การออกแบบข้ามวัฒนธรรม ณ หลวงพระบาง : ข้อสังเกตจากการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้า ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
22 ธันวาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 “การสื่อสารและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” The 1st National Research Conference 2024 : Communication and Creative Industries แบบออนไลน์ (Virtual conference) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
Virtual conference |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
22 ธันวาคม 2567 |
ถึง |
22 ธันวาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
1 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
อยู่ระหว่างรอเลขหน้า |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทความเรื่อง “การออกแบบข้ามวัฒนธรรม ณ หลวงพระบาง : ข้อสังเกตจากการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้า ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง” มีวัตถุประสงค์ในการเขียนขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะในการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้าบริเวณตัวเมืองหลวงพระบาง และ เพื่อสรุปเอกลักษณ์ในการออกแบบ ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง โดยบทความชิ้นนี้เกิดจากความสนใจของผู้เขียน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในหลวงพระบาง โดยได้พบกับการออกแบบของที่ระลึกหลากหลายรูปแบบ และมีสิ่งบ่งชี้ถึงการออกแบบของคนพื้นเมือง และการออกแบบโดยชาวตะวันตก ซึ่งนับได้ว่าเป็นการออกแบบข้ามวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในหลวงพระบาง สามารถนำมาศึกษา และใช้ประโยชน์ต่อได้ ในแง่ของการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกในหลวงพระบาง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์แบบปฐมภูมิ ได้แก่ การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และอินเตอร์เน็ต และการวิเคราะห์แบบทุติยภูมิจากการลงพื้นที่ร้านขายของที่ระลึกในตัวเมืองหลวงพระบาง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. ออกพบตก 2. บ้านผานม 3. พิพิธภัณฑ์ผ้าแม่ออน 4. ตลาดมืด และ 5. ศูนย์ศิลปะ และ ชนเผ่าวิทยา จากการค้นคว้า พบว่า มีสิ่งบ่งชี้ที่สามารถแยกการออกแบบจากชาวตะวันตก และ ชาวพื้นเมือง 2 ข้อ ได้แก่ 1) นักออกแบบชาวตะวันตกมักเน้นไปที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และในประโยชน์ใช้สอยมักมีรากวัฒนธรรมมาจากประเทศของตนเอง ในขณะที่ของที่ระลึกที่ออกแบบโดยชาวพื้นเมืองจะเน้นไปที่การโชว์เทคนิคการผลิต ภูมิปัญญา และความงามเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งไปที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรก 2) การเลือกใช้ใช้สีสัน และ ลวดลาย พบว่า นักออกแบบชาวตะวันตก มักใช้สีอ่อน หรือสีโทนใกล้เคียงกัน ในขณะที่ชาวพื้นเมือง มักใช้สีที่มีความฉูดฉาด สีที่ตัดกัน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
ไม่เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|