2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การออกแบบข้ามวัฒนธรรม ณ หลวงพระบาง : ข้อสังเกตจากการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้า ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง 
Date of Distribution 22 December 2024 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 “การสื่อสารและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” The 1st National Research Conference 2024 : Communication and Creative Industries แบบออนไลน์ (Virtual conference)  
     Organiser คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 
     Conference Place Virtual conference 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 22 December 2024 
     To 22 December 2024 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page อยู่ระหว่างรอเลขหน้า 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทความเรื่อง “การออกแบบข้ามวัฒนธรรม ณ หลวงพระบาง : ข้อสังเกตจากการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้า ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง” มีวัตถุประสงค์ในการเขียนขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะในการออกแบบของที่ระลึกประเภทผ้าบริเวณตัวเมืองหลวงพระบาง และ เพื่อสรุปเอกลักษณ์ในการออกแบบ ระหว่างนักออกแบบชาวตะวันตกกับคนพื้นเมือง โดยบทความชิ้นนี้เกิดจากความสนใจของผู้เขียน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในหลวงพระบาง โดยได้พบกับการออกแบบของที่ระลึกหลากหลายรูปแบบ และมีสิ่งบ่งชี้ถึงการออกแบบของคนพื้นเมือง และการออกแบบโดยชาวตะวันตก ซึ่งนับได้ว่าเป็นการออกแบบข้ามวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในหลวงพระบาง สามารถนำมาศึกษา และใช้ประโยชน์ต่อได้ ในแง่ของการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกในหลวงพระบาง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์แบบปฐมภูมิ ได้แก่ การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และอินเตอร์เน็ต และการวิเคราะห์แบบทุติยภูมิจากการลงพื้นที่ร้านขายของที่ระลึกในตัวเมืองหลวงพระบาง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. ออกพบตก 2. บ้านผานม 3. พิพิธภัณฑ์ผ้าแม่ออน 4. ตลาดมืด และ 5. ศูนย์ศิลปะ และ ชนเผ่าวิทยา จากการค้นคว้า พบว่า มีสิ่งบ่งชี้ที่สามารถแยกการออกแบบจากชาวตะวันตก และ ชาวพื้นเมือง 2 ข้อ ได้แก่ 1) นักออกแบบชาวตะวันตกมักเน้นไปที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และในประโยชน์ใช้สอยมักมีรากวัฒนธรรมมาจากประเทศของตนเอง ในขณะที่ของที่ระลึกที่ออกแบบโดยชาวพื้นเมืองจะเน้นไปที่การโชว์เทคนิคการผลิต ภูมิปัญญา และความงามเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งไปที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรก 2) การเลือกใช้ใช้สีสัน และ ลวดลาย พบว่า นักออกแบบชาวตะวันตก มักใช้สีอ่อน หรือสีโทนใกล้เคียงกัน ในขณะที่ชาวพื้นเมือง มักใช้สีที่มีความฉูดฉาด สีที่ตัดกัน 
Author
667220004-6 Miss PORNCHANOK PALADKONG [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis false 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum