2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การวิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ กรณีศึกษานโยบายสมรสเท่าเทียม 
Date of Distribution 12 December 2024 
Conference
     Title of the Conference The First International Conference on Public Affairs 
     Organiser วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด  
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 12 December 2024 
     To 13 December 2024 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 236-243 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ หนึ่งในนั้นคือสิทธิการสร้างความครัวและการสมรส โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิการสมรสของผู้มีความหลากหลายเพศ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะกรณีสมรสเท่าเทียม งานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาแนวคิด รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ รวมทั้งศึกษาจากสื่อ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อมองกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ กรณีสมรสเท่าเทียม ผ่านตัวแบบพหุกระแส (Multiple Streams Model) ของ Kingdon ที่เกี่ยวข้องกับ 3 กระแส ได้แก่ 1) กระแสปัญหา ประกอบด้วย ตัวชี้วัดปัญหา เช่น ประชาชนร่วมลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียมกว่าสามแสนรายชื่อ เหตุการณ์ที่มุ่งให้ความสนใจ เช่น ผู้มีความหลากหลาย ทางเพศต้องการเข้าจดทะเบียนสมรสและได้รับสิทธิเช่นเดียวกับการสมรสของบุคคลต่างเพศ และผลสะท้อนกลับ คือ การร้องเรียนหน่วยงานและศาลรัฐธรรมนูญกรณีเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ 2) กระแสนโยบาย ประชาชนและนักวิชาการมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสวนา ม็อบ ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจและยอมรับในคุณค่า และความเป็นไปได้ทางเทคนิค คือ มีกลไกให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายเข้าสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนหลายพรรคการเมืองนำประเด็นสมรสเท่าเทียมมาเป็นนโยบาย และ 3) กระแสการเมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพรรครัฐบาลในช่วงปี 2566 เมื่อทั้ง 3 กระแส มาบรรจบกันในเวลาที่เหมาะสม โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการนโยบายที่สำคัญคือ กลุ่มภาคีสีรุ้งเพื่อการสมรสเท่าเทียม ทำให้หน้าต่างนโยบายเปิดขึ้น จนนำไปสู่วาระการตัดสินใจ คือเกิดพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป คำสำคัญ: สมรสเท่าเทียม, ความหลากหลายทางเพศ, LGBTQ+  
Author
665280010-1 Miss PETCHARAT RATTANABOOTTHA [Main Author]
College of Local Administration Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference นานาชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum