2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความเหมาะสมของที่ดินและการประเมินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 กรกฎาคม 2553 
วารสาร
     ชื่อวารสาร สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2553 
     หน้า 67-89 
     บทคัดย่อ มันสำปะหลัง (Manihot esculenta crantz) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีต้นทุนในการผลิตต่ำเนื่องจากต้องการจัดการและดูแลน้อย สามารถทนแล้งได้ดี และยังมีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ผลผลิตมันสำปะหลังมากกว่า 50 % ของประเทศมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกมันสำปะหลังจะสามารถบอกถึงสมรรถนะของพื้นที่ในการเพิ่มผลผลิตและศักยภาพของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เชิงบูรณาการคุณภาพที่ดินด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตามแนวทางการประเมินที่ดินของ FAO เพื่อประเมินพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมและสูญเสียดินน้อยที่สุด รวมไปจนถึงความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ พื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 106 ล้านไร่ และมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 6 ล้านไร่ ซึ่งปลูกในสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ดอนและมีลักษณะลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย โดยการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมนั้นได้จากการบูรณาการคุณภาพที่ดิน ซึ่งแบ่งออกเป็นความต้องการด้านพืช ความต้องการด้านการจัดการ และความต้องการด้านการอนุรักษ์ ร่วมกับการประเมินความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ในการคัดเลือกคุณภาพที่ดินด้านความต้องการด้านของพืชตามหลักการของ FAO ประกอบไปด้วย ความเข้มของแสงอาทิตย์ (U) อุณหภูมิ (T) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (W) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (O) ความเป็นประโยชน์ธาตุอาหารพืช (NAI) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (NR) การรักษาน้ำของเนื้อดิน (I) สภาวะการหยั่งลึกของราก (R) ความเสียหายจากน้ำท่วม (F) การมีเกลือมากเกินไป (D) และ สภาพพื้นที่ (G) คุณภาพที่ดินด้านการจัดการ ประกอบไปด้วย สภาวะการเขตกรรม (SW) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (PM) และการเข้าถึงพื้นที่ (A) และความต้องการด้านการอนุรักษ์จากการประเมินการสูญเสียดิน จากสมการการสูญเสียดินสากล และในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม SPOT ที่บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ.2548 ถึงปี พ.ศ.2549 จากการศึกษา พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกมันสำปะหลัง โดยแบ่งออกเป็นระดับเหมาะสมมาก ปานกลาง น้อย ไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 18.18, 16.68, 8.01และ 51.63 ตามลำดับ ผลการประเมินที่ได้นั้นเป็นข้อมูลในเชิงพื้นที่จากการบูรณาการคุณภาพที่ดิน เพื่อทราบถึงความเหมาะสมในด้านพืช ด้านการจัดการ และด้านการอนุรักษ์ที่สามารถบอกถึงการชะล้างพังทลายของดิน ส่วนในการประเมินความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยวิธีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน พบว่าการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่เหมาะสมมาก และปานกลาง นั้นมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีพื้นที่เท่ากับ 5.04 % ของพื้นที่ทั้งภาค ส่วนใหญ่จะปลูกในดินที่มีการระบายน้ำดี โดยมีการกระจายตัวของพื้นที่ปลูกสอดคล้องกับความเหมาะสมของที่ดิน คิดเป็นร้อยละ 12.24, 7.92, 7.22 และ 1.56 ของพื้นที่เหมาะสมในระดับเหมาะสมมาก ปานกลาง น้อย และไม่เหมาะสม ตามลำดับสุรชัย 
     คำสำคัญ การประเมินที่ดิน, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, มันสำปะหลัง 
ผู้เขียน
505020087-0 น.ส. วาสนา พุฒกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 1