2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตรวจโดยวิธีโมเลกุลลาร์และฟีโนไทป์ของเชื้อวิบริโอ คลอเลรี และวิบริโอ พาราฮีโมลัยติคัส จากหอยแครงในประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 8 มิถุนายน 2554 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 
     สถานที่จัดประชุม อาคาร Digital Multimedia (อาคาร 15) มหาวิทยาลัยรังสิต  
     จังหวัด/รัฐ ปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 8 มิถุนายน 2554 
     ถึง 8 มิถุนายน 2554 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2554 
     Issue (เล่มที่) 303 
     หน้าที่พิมพ์ 175 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต 
     บทคัดย่อ การตรวจโดยวิธีโมเลกุลลาร์และฟีโนไทป์ของเชื้อวิบริโอ คลอเลรี และวิบริโอ พาราฮีโมลัยติคัส จากหอยแครงในประเทศไทย MOLECULAR AND PHENOTYPIC DETECTION OF VIBRIO CHOLERAE AND VIBRIO PARAHAEMOLYTICUS FROM COCKLES IN THAILAND พัชรา เสนาชัย1 รศ.ดร.จริยา ชมวารินทร์ 2 --------------------------------------------------------------- บทคัดย่อ วิบริโอ คลอเลรี และวิบริโอ พาราฮีโมลัยติคัส เป็นแบคทีเรียที่สำคัญในการก่อโรคอุจจาระร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการบริโภคอาหารทะเลที่ไม่ได้ปรุงสุกก่อนรับประทาน ในการศึกษาครั้งนี้ได้สำรวจความชุกของเชื้อดังกล่าวด้วยวิธีโมเลกุลลาร์ซึ่งได้แก่ วิธี uniplex PCR และ duplex PCR และวิธีฟีโนไทป์คือ การเพาะเชื้อ ในตัวอย่างหอยแครงทั้งหมด 154 ตัวอย่าง จาก 3 แหล่งในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างหอยแครงในระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤศจิกายน ปี 2553 จากผลการศึกษาพบว่า ความชุกของเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมลัยติคัส สูงถึง ร้อยละ 97.2, 87.7 และ 74.7 เมื่อตรวจด้วยวิธี uniplex PCR, duplex PCR และเพาะเชื้อ ตามลำดับ ขณะเดียวกันพบความชุกของเชื้อ วิบริโอ คลอเลรี ร้อยละ 77.3, 18.2 และ 2 เมื่อตรวจด้วยวิธี uniplex PCR, duplex PCR และเพาะเชื้อ ตามลำดับ โดยพบว่าเป็นเชื้อ วิบริโอ คลอเลรี ซีโรกรุ๊ป O1 สูงถึง ร้อยละ 63.6 จากตัวอย่างหอยแครงทั้งหมด 154 ตัวอย่าง จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าวิธี PCR มีความไวในการตรวจพบเชื้อทั้งสองชนิดสูงกว่าวิธีเพาะเชื้อ นอกจากนี้วิธี duplex PCR ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจหาทั้งเชื้อวิบริโอ คลอเลรี และวิบริโอ พาราฮีโมลัยติคัส ในตัวอย่างหอยแครงนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินความปลอดภัยของอาหารทางจุลชีววิทยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการระบาดของโรคอุจจาระร่วงซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ คำสำคัญ : วิธีโมเลกุลลาร์, วิธีฟีโนไทป์, เชื้อสกุลวิบริโอ, หอยแครง  
ผู้เขียน
525070031-9 น.ส. พัชรา เสนาชัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0