2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 สิงหาคม 2554 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2554 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ทำการศึกษาในอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2554 และขอบเขตงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย การสุขาภิบาลอาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ มูลฝอย ห้องน้ำ-ห้องสุขา และความปลอดภัย ผลการศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ ด้านสุขาภิบาลอาหารสำรวจร้านอาหาร 3 ร้าน แผงลอย 39 แผง พบว่า ร้านอาหารร้อยละ 33.3 และแผงลอยร้อยละ 79.5 ไม่ผ่านการประเมินด้านกายภาพตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ผลการตรวจโดยชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(SI–2)ในอาหาร ร้านอาหารพบการปนเปื้อนในมือผู้สัมผัสอาหาร อาหารและภาชนะร้อยละ 33.3, 15.4 และ 11.1 ตามลำดับ แผงลอยพบปนเปื้อนในอาหาร มือผู้สัมผัสอาหารและภาชนะร้อยละ 49.7, 47.4 และ 44.4 ตามลำดับ อุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่งมีจุดบริการน้ำดื่มบริการแก่นักท่องเที่ยว มีการจัดหาน้ำประปาให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งระบบประปาภูเขาและประปาชนบท มูลฝอยพบถุงพลาสติก โฟม และเศษอาหาร อุทยานแห่งชาติ 2 ใน 3 แห่งจัดการมูลฝอยโดยวิธีการเผา อีกหนึ่งแห่งใช้วิธีการฝังกลบ ปัญหาด้านการคัดแยกขยะพบมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นมาก ด้านการจัดการห้องน้ำ-ห้องสุขา มีอาคารแบ่งแยกระหว่างสุขาชาย-หญิงและผู้พิการ ความเพียงพอของปริมาณห้องน้ำ-ห้องสุขา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เฉพาะในช่วงฤดูกาลปกติ แต่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย อุทยานแห่งชาติมีการจัดแสดงป้ายสัญลักษณ์ เพื่อการปฏิบัติตัวและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมถึงสิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ช่วยอำนายความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวอาทิ ทางเดินเท้า บันได ราวกันตก ในจุดที่อาจเป็นอันตรายกับนักท่องเที่ยว ด้านความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อสภาพการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวพบว่า ด้านความเพียงพอของปริมาณน้ำดื่มน้ำใช้อยู่ในระดับดี ส่วนด้านสุขาภิบาลอาหาร การจัดการมูลฝอย การจัดการห้องน้ำห้องสุขา และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการวิจัย อุทยานแห่งชาติควรจัดให้มีการพัฒนาในด้านการจัดการห้องน้ำ-ห้องสุขาเป็นอันดับแรก เรื่องความเพียงพอของปริมาณของห้องน้ำ-ห้องสุขา ด้านการจัดการขยะมูลฝอย แหล่งท่องเที่ยวควรมีการปรับปรุงในเรื่องความเพียงพอของที่รองรับขยะมูลฝอย และการปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในแหล่งท่องเที่ยว  
     คำสำคัญ อุทยานแห่งชาติ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, แหล่งท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยว 
ผู้เขียน
525110097-8 น.ส. จินต์จุฑา แสงเพชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0