2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเปรียบเทียบกำลังดัดขวางของการซ่อมฟันเทียมฐานเรซินอะคริลิกด้วยเรซินอะคริลิกที่่บ่มด้วยวิธีการต่างๆ (Comparison of flexural strength in repairing acrylic resin denture base by acrylic resin polymerized in different methods) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 11 สิงหาคม 2554 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2554 (The National Graduate Research Conference 2011)  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดบุรีรัมย์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 11 สิงหาคม 2554 
     ถึง 11 สิงหาคม 2554 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 977-986 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกำลังดัดขวางของเรซินอะคริลิกที่บ่มด้วยวิธีการต่างๆ 4 วิธี ได้แก่ เรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน เรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยตนเอง เรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยพลังงานคลื่นไมโครเวฟ และเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนแต่ใช้พลังงานคลื่นไมโครเวฟในการบ่ม และเพื่อเปรียบเทียบกำลังดัดขวางภายหลังการซ่อมฟันเทียมฐานเรซิน อะคริลิกที่ผลิตจากเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อน โดยทำการเตรียมชิ้นทดสอบเรซินอะคริลิกวิธีการละ 15 ชิ้น ขนาด 64 มิลลิเมตร × 10 มิลลิเมตร × 3.30 มิลลิเมตร เก็บในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 50 ชั่วโมง แล้วทำการทดสอบกำลังดัดขวางด้วยวิธีการทดสอบการดัดโค้งแบบสามจุด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ โดยการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกำลังดัดขวางของเรซินอะคริกที่บ่มด้วยวิธีการต่างๆ 4 วิธี ใช้สถิติ One-way ANOVA และการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกำลังดัดขวางภายหลังการซ่อมฟันเทียมฐานเรซินอะคริลิกที่ผลิตจากเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนด้วยวิธีการต่างๆ 4 วิธี และฐานฟันเทียมเดิม ใช้สถิติ Kruskal–Wallis ผลการศึกษาพบว่ากำลังดัดขวางของเรซินอะคริลิกที่บ่มด้วยวิธีการต่างๆ 4 วิธี มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และกำลังดัดขวางภายหลังการซ่อมฟันเทียมฐานเรซินอะคริลิกด้วยวิธีการต่างๆ 4 วิธี และฐานฟันเทียมเดิมมีความแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) สรุปผลการศึกษาได้ว่า เรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนมีกำลังดัดขวางสูงสุด และการซ่อมฐานฟันเทียมด้วย เรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนมีกำลังดัดขวางมากกว่าการซ่อมด้วยวิธีการอื่นๆ คำสำคัญ: กำลังดัดขวาง, เรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยพลังงานคลื่นไมโครเวฟ The aims of this study were 1) to compare the flexural strength of acrylic resin denture base polymerized by 4 different methods and 2) to compare the flexural strength of intact conventional heat-polymerized denture base with those after repairing this denture base material by acrylic resin polymerized as the above 4 methods. Materials and methods: Conventional heat-polymerized acrylic resin (Meliodent Meliodent Heat Cure, Bayer Dental, Newburg, Germany), autopolymerized acrylic resin (Meliodent Self Cure, Bayer Dental, Newburg, Germany), microwave-polymerized acrylic resin (Acron MC, GC Dental Products Corp, Japan) were used in this study.120 specimens were fabricated (64 mm × 10 mm × 3.3 mm, 60 for intact specimens, and another 60 for repaired specimens). After 50 hours of storage in distilled water at 37 oC, the flexural strength was measured using a 3-point bending test. The data of flexural strengths obtained from intact specimens were analyzed by one-way ANOVA. The data of flexural strengths of the repaired specimens and of the intact conventional heat-polymerized denture base were analyzed by Kruskal–Wallis test. Results: 1) The flexural strength of acrylic resin denture base polymerized in 4 methods showed statistically significant difference between the experimental groups (P<0.001). 2) The flexural strength of intact and repaired conventional heat-polymerized specimens with acrylic resin polymerized by 4 different methods showed statistically significant differences between the experimental groups (P<0.001). Conclusions: Within the limitations of this study, conventional heat-polymerized acrylic resin showed the highest flexural strength of all the materials tested; and repairing of acrylic resin denture base by conventional heat-polymerized acrylic resin showed the highest flexural strength value of all the materials tested. Keywords: flexural strength, microwave-polymerized acrylic resin  
ผู้เขียน
525130005-7 น.ส. ธีรนุช ใจบุญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 6