2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการการผลิตและการตลาดพริกพันธุ์เหลืองทองของเกษตรกรตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 มีนาคม 2557 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     สถานที่จัดประชุม อาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 มีนาคม 2557 
     ถึง 28 มีนาคม 2557 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 15 
     Issue (เล่มที่) 1906-2014  
     หน้าที่พิมพ์ 3130-3136 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตและการตลาดพริกพันธุ์เหลืองทองของเกษตรกร จำนวน 112 ราย และพ่อค้า 5 รายในพื้นที่ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1.02 ไร่/ครัวเรือน เกษตรกรนิยมปลูกพริกในฤดูฝน โดยเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์และเพาะกล้าเอง ร้อยละ 91.07 ใช้พลาสติกคลุมแปลงปลูกร้อยละ 96.43 เกษตรกรร้อยละ 72.32 ใช้นํ้าชลประทานร่วมกับนํ้าฝน และให้นํ้าด้วยการปล่อยนํ้าตามร่องร้อยละ 42.86 เมื่อพริกเป็นโรคเกษตรกรร้อยละ 83.93 ได้ถอนต้นพริกออกจากแปลงและนำไปเผา ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 51,374.51 บาท/ไร่ ผลผลิตพริกเฉลี่ยเท่ากับ 2,267.95 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรขายพริกได้ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 48.94 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 57,973.28 บาท/ไร่ เกษตรกรจำหน่ายพริกให้กับพ่อค้ารวบรวมในหมู่บ้านร้อยละ 83.15 และขายให้พ่อค้าส่งในท้องถิ่นร้อยละ 16.85 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรทุกรายขายพริกสดรวม ขายในระบบเงินสดทั้งหมด ข้อเสนอแนะจากการศึกษา เกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าสารเคมีโดยหันมาใช้สารชีวินทรีย์แทน ABSTRACT The objectives of this study was to study the production and marketing management of Lengtong Variety of Chili. The data was collected from 112 farmers who grew the chili in the area and 5 merchants who purchased the chili in Kamin sub-district, Muang district, Sakon Nakhon province. The study found that the farmers with an average area of 1.02 Rai/household, were more likely to plant the chili in the rainy season. The farmers more likely harvested the seeding and nursing by themselves (91.07%). The farmers use plastics to cover the plot plant 96.43%. For the source of water for growing the chili, we found that 72.32% of farmers use irrigation as the water source. Farmers were watering their farm by releasing water through the canal 42.86%. When the farmers found the disease they took out the chili from the farm and burn because they afraid of the disease outbreak over the farm 83.93%. Total cost in planting chili approximately 51,374.51 baht /rai with the chili average of 2267.95 kg /rai. Farmers received the price for selling chili approximately 48.94 baht/kg, the net income was 57,973.28 baht/rai. The farmers sold products to the merchants in the village 83.15 % and sold to local wholesalers 16.85 % of the total products. Most of the farmers were more likely to sell fresh chili to the merchants. They received cash with no choice of negotiable. For the suggestion of the study, the farmers shoud reduce the use of chemical inputs and use the biological agents instead . 
ผู้เขียน
545030050-1 นาง จารุวรรณ์ บุญนำพา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0