2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของระดับความสว่างที่แนะนำและผลของความต่างระหว่างงานและพื้นหลังที่มีต่อความสามารถในการมองเห็นในห้องเรียน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 พฤษภาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครั้งที่2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤษภาคม 2558 
     ถึง 23 พฤษภาคม 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 14-16 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ระดับความสว่างที่ใช้อ้างอิงในการออกแบบในประเทศ อ้างอิงตามค่าระดับความสว่างที่แนะนำของต่างประเทศ การใช้ระดับความสว่างตามมาตรฐานของต่างประเทศ เหมาะสมเพียงใด กับการมองเห็นของคนไทย ที่มีความเคยชินอยู่กับปริมาณแสงธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพปริมาณแสงธรรมชาติภายนอก และความคุ้นเคยที่แตกต่าง การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินค่า ความแม่นยำทางสายตา (Visual acuity) ของนักศึกษาจำนวน 32 คน โดยใช้ระดับความสว่างมาตรฐาน ในอาคารเรียนที่ออกโดย CIBSE (CIBSE, 2002) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่แนะนำของประเทศอังกฤษ และเป็นมาตรฐานหนึ่ง ที่นิยมใช้ในประเทศไทย โดยศึกษา ผลของระดับความสว่าง (Illuminance level) และผลของความต่างของความสว่างระหว่างงานกับพื้นหลัง (Contrast) ที่มีต่อความสามารถในการมองเห็น งานทางสายตา (Visual task) ที่ใช้ในการทดสอบคือ แผนภาพวงแหวนแลนดอลท์ (Landolt ring charts) ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับใช้ในการทดสอบความแม่นยำทางสายตา โดยมีการทดสอบความแม่นยำทางสายตาทั้งระยะใกล้ (0.4 m.) และระยะไกล (4.0 m.) ค่าระดับความสว่างที่ใช้ในการทดสอบระยะใกล้มี 3 ระดับ คือ 300 500 และ 750 lux และ ระยะไกลมี 3 ระดับ คือ 100 200 และ 300 lux ค่า Contrasts ที่ใช้ในการทดสอบมี 3 ค่า คือ 0.92 0.65 และ 0.28 ในการทดสอบนี้ ตัวแปรต้นคือ ค่าระดับความสว่าง (Illuminance levels) และค่าความต่างระหว่างงานกับพื้นหลัง (Contrasts) ตัวแปรตามคือ ค่าความแม่นยำทางสายตา (Visual acuity) สำหรับการทดสอบระยะใกล้ เมื่อเพิ่มระดับความสว่าง ค่า Visual acuity ของนักศึกษาที่ได้ จะเพิ่มขึ้นมากในกรณีพื้นหลังสีขาว (C=0.92) และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกรณีพื้นหลังสีเทาเข้ม (C=0.28) แต่ไม่เพิ่มขึ้นเลยในกรณีพื้นหลังสีเทา (C=0.65) ซึ่งในกรณีพื้นหลังสีเทา ผลที่ได้จะแตกต่างจากที่ได้คาดการณ์ไว้ ในช่วงแรก ค่า Visual acuity ของนักศึกษา สำหรับการอ่านแผนภาพพื้นหลังสีขาวและพื้นหลังสีเทานั้น จะเท่ากันที่ระดับความสว่าง 300 และ 500 lux แต่เมื่อเพิ่มระดับความสว่างจาก 500 lux ไปถึง 750 lux นักศึกษาจะอ่านพื้นหลังสีขาวได้ดีขึ้น แต่จะอ่านพื้นหลังสีเทาได้แม่นยำเท่าเดิม ถึงแม้จะเพิ่มปริมาณความสว่างแล้วก็ตาม สำหรับการทดสอบระยะไกล ในช่วงแรกที่เพิ่มระดับความสว่างจาก 100 lux เป็น 200 lux ความสามารถในการมองเห็นไม่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเพิ่มระดับความสว่างขึ้นเป็น 300 lux ความสามารถในการมองเห็นจะเพิ่มขึ้นในทุกค่า Contrast สิ่งที่น่าสังเกตคือ เมื่อเพิ่มระดับความสว่างในช่วงแรก คือจาก 300 ไป 500 lux สำหรับการทดสอบระยะใกล้ และจาก 100 ไป 200 lux สำหรับการทดสอบระยะไกล ค่า Visual acuity ที่ได้จะคงที่ ในทุกค่า Contrast เมื่อเปรียบเทียบค่า Visual acuity ที่ได้จากการทดสอบนี้ กับ ค่า Visual acuity ที่ได้จากการทดสอบของ Holonen พบว่า ค่า Visual acuity ของการทดสอบนี้ มีค่าต่ำกว่าค่าที่ได้จากการทดสอบของ Halonen ในช่วงระดับความสว่างเดียวกัน แสดงว่าที่ระดับความสว่างเท่ากัน กลุ่มตัวอย่างของ Halonen จะมองเห็นรายละเอียดที่มีขนาดเล็กได้ดีกว่านักศึกษา อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถสรุปได้ว่า ค่า Visual acuity ของคนไทยต่างกันกับของคนต่างประเทศ ทั้งนี้ ควรจะมีการทดสอบซ้ำหลายๆครั้ง แล้วเปรียบเทียบผลการทดสอบที่ได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูล ค่า Visual acuity ของคนไทยที่ถูกต้อง คำสำคัญ; ความแม่นยำทางสายตา ระดับความสว่าง ความต่างของความสว่าง Abstract Recommended illuminance levels in Thailand are adopted from foreign standards. Is using foreign recommended illuminance levels appropriate for Thai people visuality ?, since we have different daylight illuminance level familiarity from them. The objective of this study is to survey and assess 32 students visual acuities by using CIBSE educational building recommended illuminance levels. CIBSE recommended illuminance levels are British standard and are widely used in Thailand. This test is set up in order to examine the effect of illuminance levels and contrasts on visual acuity of the students. Visual task used in this test is Landolt ring chart which is one of the visual acuity measurement standards. The near test distance (0.4 m.) and the far test distance (4.0 m.) are both used in this test. Three illuminance levels are used in each test, 300, 500, and 750 lux used for near testing, 100, 200, and 300 lux used for far testing. There are 3 contrasts used in both tests which are 0.92, 0.65, and 0.28. In this test, the independent variables are illuminance levels and contrasts and the dependent variable is visual acuity. For the near test, when illuminance level is increased, the students visual acuities are also increased for white background chart (C=0.92) and for dark grey background chart (C=0.28). But for grey background chart (C=0.65) the visual acuity is constant in spite of illuminance level increasing. The result of grey background chart case is not according to what it is expected. When the illuminance level is adjusted from 300 to 500 lux, the visual acuity of white and grey background charts are constant and equal. And when the illuminance level is adjusted from 500 to 750 lux, the students are able to see the white chart better, but the ability to see the grey chart is constant in spite of the fact that the illuminance level is increased. For the far test, when the illuminance level is adjusted from 100 to 200 lux, the visual acuity is constant. And when the illuminance level is adjusted from 300 to 500 lux, the visual acuity is increased in every contrast. The interesting point is that, when the illuminance level is increased on the first step which is 300 to 500 lux for near test and 100 to 200 lux for far test, the visual acuity will be constant in every contrast. When the result of this test and the result of Halonen’s test are compared, it is found that the visual acuity of this test is lower than the one of Halonen’s test. This is indicated that on the same level of illuminance the subject group of Halonen can see finer detail than the one of the students. Nevertheless, one is not able to conclude that the visual acuity of Thai people is different from that of foreign people. However, we should operate more experiments and should have the results of them compared in order to gain the proper visual acuity of Thai people. Keyword; Visual acuity, Illuminance level, Contrast  
ผู้เขียน
557200005-5 นาง รจเรข แสงอาทิตย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0