ชื่อบทความ |
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
17 กันยายน 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2561 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 279 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ความถี่ในการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเมินพลังงานและสารอาหารที่ได้รับโดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2561 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆประกอบด้วยลักษณะส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกาย กับภาวะโภชนาการของกลุ่มตัวอย่างโดยการวิเคราะห์ Multinomial Logistic Regression โดยตัวแปรตามเป็นภาวะโภชนาการขาด (BMI <18.5 kg/m2) และภาวะโภชนาการเกิน (BMI ≥ 23 kg/m2) โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการปกติ (BMI 18.5-22.9 kg/m2)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.4 อายุเฉลี่ย 68.9 ปี มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ปกติ และ ผอม ร้อยละ 43.4, 14.7, 30.8, 11.1 ตามลำดับ ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารเฉลี่ย 1,514 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 84.0 ของปริมาณที่แนะนำ การกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พบร้อยละ 73.6, 14.7 และ11.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการปกติ ได้แก่ เพศหญิง ค่า RRR = 2.59 (95% CI: 1.43 ถึง 4.70) อายุ 60-69 ปี ค่า RRR = 2.65 (95% CI: 1.45 ถึง 4.83) พลังงานที่ได้รับ > 100% ของปริมาณที่แนะนำ ค่า RRR = 2.34 (95% CI: 1.09 ถึง5.07) และจำนวนฟัน > 20 ซี่ ค่า RRR = 1.87 (95% CI: 1.01 ถึง 3.46) การศึกษานี้ไม่พบปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการขาด
สรุป ผู้สูงอายุกว่าครึ่งมีปัญหาภาวะโภชนาการเกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุเพศหญิง และผู้สูงอายุวัยต้น ผลการศึกษายืนยันว่าการได้รับพลังงานมากมีผลโดยตรงกับภาวะโภชนาการเกิน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่จัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ควรจัดให้เฉพาะเจาะจงตามกลุ่มวัยของผู้สูงอายุ การควบคุมภาวะโภชนาการเกินควรเน้นดำเนินการในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นเพศหญิงโดยเน้นการควบคุมอาหารที่ให้พลังงานสูง
|
คำสำคัญ |
ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, พลังงานที่ได้รับ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|