2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การใช้เครือข่ายทางสังคมขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ “Social Networking as a Driving Force for Organic Agricultural Policies”  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 ธันวาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม 8th Global Conference on Business and Social Sciences on "Contemporary Issues in Business and Social Sciences Research" (CIBSSR – 2018)  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Global Academy of Training and Research (GATR) Kuala Lumpur, Malaysia  
     สถานที่จัดประชุม Kuala Lumpur, Malaysia  
     จังหวัด/รัฐ Kuala Lumpur, Malaysia  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 ธันวาคม 2561 
     ถึง 22 ธันวาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 51 
     Editors/edition/publisher Professor Dr. Gabriël A Moens Professor Dr. Danture Wickramasinghe Professor Dr. Kamran Ahmed Dr. Kashan Pirzada  
     บทคัดย่อ การใช้เครือข่ายทางสังคมขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ 1 “Social Networking as a Driving Force for Organic Agricultural Policies” นายรพินทร์ ยืนยาว 2 Rapin Yuenyao ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ 3 Thanapauge Chamaratana บทคัดย่อ ปัญหาด้านสุขภาพของทุกคนส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหาร อาหารที่ปลอดภัยเป็นส่วนสำคัญจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีการผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่ปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี เครือข่ายทางสังคมจึงเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการใช้เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ กรณีศึกษานโยบายเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้หน่วยการวิเคราะห์ใน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มเครือข่าย ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 2 วิธี คือ การเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิและแบบปฐมภูมิ หลังจากนั้นนำข้อมูลมาทำการตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์การเชื่อมโยงความสัมพันธ์เครือข่ายทางสังคม (Networking) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อแยกแยะ ตีความ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และแบบแผนในปรากฏการณ์ เพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ใช้มติข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือมติสมัชชาสุขภาพเป็นพันธะสัญญาร่วมกันในการรวมคนเข้ามาขับเคลื่อน 2) เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ใช้สื่อหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านสื่อสารเป็นเครื่องมือรณรงค์กระตุ้น สร้างจิตสำนึก ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารและเป็นตัวกลาง พื้นที่กลางเชิญชวนเครือข่ายเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน หน่วยงานรัฐสนับสนุนและหนุนเสริมอุปกรณ์เครื่องมือ เจ้าหน้าที่ และงบประมาณ หน่วยงานภาคประชาชน ขยายเครือข่ายเพิ่มเติมให้มากขึ้น สรุปได้ว่า การใช้เครือข่ายทางสังคมขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่ปลอดภัย คำสำคัญ : การใช้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์, นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, เกษตรอินทรีย์ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ กรณีศึกษานโยบายเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานี” ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์จากศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์ (ศปส.)คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Social Networking as a Driving Force for Organic Agricultural Policies Rapin Yuenyao2 Thanapauge Chamaratana3 Abstract Dietary is known to be the major factor for everyone’s health issues, with more awareness on food safety and how it can lead to a good health. Consequently, public policies on organic agriculture and safe procession of food are being driven out in a greater degree by different actors across the society. Ubon Ratchathani province is a good example of how Social Networking have played an important role as a driving force for organic agricultural policies. This research seeks to study the roles played by social networking that helps drive public policies on health issues. Qualitative Research methodology is used to study on a sample case of Ubon Ratchathani’s organic agricultural policies. The research consists of two levels of unit of analysis: on the individuals and on the networks. Datas are collected from both the primary and secondary sources, then checked for accuracy by a Triangulation method. Content Analysis is then used to distinguish, interpret, and compare each finding, for the inducted outcome of Networking pattern. The study finds that: 1) the organic agricultural network is structured from three major parts, the social movement part of the private sector that consists of foundations, medias, co-operatives, and firms. The governmental agencies include provincial agricultural, commerce, and healthcare agencies. There are also scholar groups derive from universities and agricultural institutions. All parts of the network share the same view on health issues, thus became unified on a voluntary basis and became a driving force of policies concerning both the producers and the consumers. The network proposes for changes in food production to become organic, with more concerns on food safety, and more supports on farmers by governmental agencies. 2) the organic agricultural network relates in a horizontal structure, as individuals and organizations that support one another. Different groups are connected via a common space of 5 Green Markets and a gin sabai jai (pleasure eating) Market, in which creates activities that unify and tighten relationship between different groups. 3) the organic agricultural network began with different groups working together on a basis of a long-time relationship between groups and individuals. Activities that derived from the network also help connect them, made them become more efficiency from different specialization. Keywords: Health Public Policy, Organic Agriculture, Organic Agricultural Network 2 Master Student, Social Development Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University 3 Lecturer, Social Development Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University  
ผู้เขียน
595080063-7 นาย รพินทร์ ยืนยาว [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0