ชื่อบทความ |
การเปรียบเทียบความถูกต้องเชิงตำแหน่งทางดิ่งของแบบจำลองพื้นผิวดิจิทัลจากการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ UAV ด้วยหมุดควบคุมที่สร้างจากการใช้แบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่นและแบบจำลองยีออยด์สากล: ผลกระทบสำหรับการออกแบบการทางเบื้องต้นในพื้นที่ลาดเอียงและพื้นที่ลาดชันบนภูเขาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
22 กันยายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
34 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มุ่งหวังที่จะเปรียบเทียบความถูกต้องทางดิ่งของแบบจำลองพื้นผิวดิจิทัล (DSMs) ที่ได้มาจากการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ซึ่งได้ใช้หมุดควบคุมภาคพื้นดินทางดิ่งที่สร้างขึ้นจากแบบจำลองยีออยด์แบบท้องถิ่นและแบบสากล ทั้งนี้แบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่นที่ใช้งานคือแบบจำลอง Thailand Geoid Model 2017 (TGM2017) ในขณะที่แบบจำลองยีออยด์สากลที่ใช้คือแบบจำลอง EGM96 และ EGM2008 โดยการศึกษานี้ดำเนินการภายใต้บริบทของการออกแบบเบื้องต้นของวิศวกรรมการทาง ซึ่งวินิจฉัยความถูกต้องรูปแบบของภูมิประเทศ 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน โดยเป็นพื้นที่ที่ตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยดังนี้ (1) พื้นที่ความลาดเอียงต่ำซึ่งตั้งอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ จังหวัดขอนแก่น และ (2) พื้นที่ลาดเอียงแบบทางลาดภูเขาที่ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่พักของเขื่อนจุฬาภรณ์ ณ จังหวัดชัยภูมิ หมุดบังคับภาคพื้นดินสร้างขึ้นด้วยการรังวัดด้วยวิธีดาวเทียมนำหนพิภพแบบสถิตย์ (Static Global Navigation Satellite System: Static GNSS) พร้อมการประมวลผลปรับแก้แบบวิธีปรับแก้โครงข่าย ในขณะที่ข้อมูลตรวจสอบได้จากการรังวัดด้วยการสำรวจภูมิประเทศแบบดั้งเดิม ต่อมา DSMs ถูกสร้างขึ้นด้วยการประมวลผลภาพถ่ายที่ได้จาก UAV ซึ่งเป็นการประมวลผลด้วยค่าระดับที่ได้จากแบบจำลองยีออยด์แต่ละแบบ ต่อจากนั้นเป็นการพิจารณาค่าความถูกต้องทางดิ่งพร้อมด้วยค่าความละเอียดของ DSMs แต่ละแบบ การศึกษาพบว่าความแตกต่างในมิติความถูกต้องทางดิ่งระหว่าง DSMs ที่สร้างขึ้นโดยใช้ TGM2017, EGM96 และ EGM2008 ที่น่าสังเกตคือ ความถูกต้องทางดิ่งของ DSMs ที่ได้จากแบบจำลอง TGM2017 นั้นไม่เกิน +/- 0.5 เมตร ในขณะที่แบบจำลอง EGM96 และ EGM2008 มีค่าเกินกว่า +/- 1.0 เมตรที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลลัพธ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า DSMs ที่ใช้หมุดควบคุมที่สร้างขึ้นจากแบบจำลอง TGM2017 นั้นมีความถูกต้องทางดิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของงานด้านการออกแบบวิศวกรรมการทางเบื้องต้นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อวิธีการรังวัดด้วยระบบดาวเทียมนำหนพิภพ การสำรวจด้วยภาพถ่าย และวิศวกรรมการทาง ด้วยการเน้นประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของ TGM2017 ในการสำรวจด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้สำหรับการออกแบบการทางเบื้องต้นได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่นที่มีความถูกต้องสูง จะช่วยส่งผลให้ DSMs ที่ผลิตขึ้นมีความน่าเชื่อถือและมีความละเอียดสูงและเพียงพอต่อโครงการทางวิศวกรรมที่ต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องทางตำแหน่ง ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษานี้เน้นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงวิธีกาผลิตแผนที่ภูมิประเทศโดยใช้การใช้อากาศยานไร้คนขับที่ควรมีอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมงานก่อสร้างที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป |
คำสำคัญ |
แบบจำลองยีออยด์, การรังวัดด้วยวิธีดาวเทียมนำหนพิภพแบบสถิตย์, แบบจำลองระดับ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|