Custom_32
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
     
  1. ชื่อหลักสูตร
   
ภาษาไทย ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Higher Graduate Diploma Program in Clinical Medical Sciences Program in Psychiatry
  2. ชื่อปริญญา
   
ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (จิตเวชศาสตร์)
ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (จิตเวชศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ
Higher Graduate Diploma in Clinical Medical Sciences (Psychiatry)
Higher Grad. Dip. in Clinical Medical Sciences (Psychiatry)
  3. ระดับการศึกษา
    ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
  4. สังกัดคณะ
    คณะแพทยศาสตร์
  5. สังกัดภาควิชา/สาขาวิชา
    จิตเวชศาสตร์
  6. วัตถุประสงค์
    หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้ <!--[if !supportLists]-->4.2.1     <!--[endif]-->มีความรู้ความสามารถถึงขั้นเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยแยกโรค การบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ประชาชนทั่วไป สามารถก้าวทันความรู้และนำความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณ
<!--[if !supportLists]-->4.2.2   <!--[endif]-->มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก  ความรู้ทั่วไปด้านการปฏิบัติราชการ และความรู้ในด้านภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง
<!--[if !supportLists]-->4.2.3   <!--[endif]-->มีทักษะ ศักยภาพชั้นสูงที่ไม่ใช่วิชาชีพเฉพาะ เป็นความรู้ด้านการกู้ชีพระยะวิกฤติ ความรู้และเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์  เวชศาสตร์เชิงประจักษ์  การถ่ายทอดความรู้  การบริหารจัดการ
<!--[if !supportLists]-->4.2.4     <!--[endif]-->มีความสามารถในการบริหารงาน ความสามารถที่จะศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
<!--[if !supportLists]-->4.2.5   <!--[endif]-->มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีในด้านจริยธรรมทางการแพทย์ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม และประกอบวิชาชีพอย่างสุจริตและเสียสละ
              จุดเด่นหรือจุดแข็งของหลักสูตร เนื้อหาภาคทฤษฏีมีความเป็นบูรณาการตั้งแต่ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ นำมาเชื่อมโยงความรู้ด้านจิตเวชศาสตร์ทั้งพื้นฐานและวิทยาการใหม่ๆให้ก้าวทันยุค รวมทั้งความรู้ทางมนุษย์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก ด้านกระบวนการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะได้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการกู้ชีพระยะวิกฤติ ฝึกการทำงานเป็นทีมสุขภาพจิตในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ฝึกทักษะการสื่อสารโดยผ่านกระบวนการการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยต่างแผนกที่รับไว้ในโรงพยาบาล ฝึกทักษะการทำจิตบำบัดระยะยาวเพื่อให้มีการปรับปรุงทัศนคติและบุคลิกภาพของตนเอง  ฝึกการเขียนโครงร่างวิจัย ทำวิจัย และเขียนผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
  7. กำหนดการเปิดสอน
    จะเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1   ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  8. สถานะหลักสูตร
    เปิด
  9. อาจารย์
   
9.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล

9.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. สุรพล วีระศิริ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. นิรมล พัจนสุนทร (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)

9.3 อาจารย์ผู้สอน
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์ 2
ศ. เจศฏา ถิ่นคำรพ 3
ศ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ 3
รศ. สุรพล วีระศิริ 5
รศ. พูนศรี รังษีขจี 5
รศ. นิรมล พัจนสุนทร 6
รศ. บุญส่ง พัจนสุนทร 6
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล 6
รศ. สมศักดิ์ เทียมเก่า 6
รศ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล 6
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล 6
อ.ดร. บุษบามินตรา ฉลวยแสง 10
อ. ภัทรี พหลภาคย์ 11
อ. พงศธร พหลภาคย์ 11
อ. กนิดา ทัศนิยม 11
อ. อัจฉรา รวมเจริญเกียรติ 11
อ. กุศลาภรณ์ วงษ์นิยม 11

     
ปกติ รหัสหลักสูตร 610704101050


 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940