Custom_32
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ ปกติ
 
     
  1. ชื่อหลักสูตร
   
ภาษาไทย ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Higher Graduate Diploma Program in Clinical Medical Sciences Program in Psychiatry
  2. ชื่อปริญญา
   
ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (จิตเวชศาสตร์)
ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (จิตเวชศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ
Higher Graduate Diploma in Clinical Medical Sciences (Psychiatry)
Higher Grad. Dip. in Clinical Medical Sciences (Psychiatry)
  3. ระดับการศึกษา
    ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
  4. สังกัดคณะ
    คณะแพทยศาสตร์
  5. สังกัดภาควิชา/สาขาวิชา
    จิตเวชศาสตร์
  6. วัตถุประสงค์
    หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้ <!--[if !supportLists]-->4.2.1     <!--[endif]-->มีความรู้ความสามารถถึงขั้นเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยแยกโรค การบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ประชาชนทั่วไป สามารถก้าวทันความรู้และนำความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณ
<!--[if !supportLists]-->4.2.2   <!--[endif]-->มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก  ความรู้ทั่วไปด้านการปฏิบัติราชการ และความรู้ในด้านภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง
<!--[if !supportLists]-->4.2.3   <!--[endif]-->มีทักษะ ศักยภาพชั้นสูงที่ไม่ใช่วิชาชีพเฉพาะ เป็นความรู้ด้านการกู้ชีพระยะวิกฤติ ความรู้และเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์  เวชศาสตร์เชิงประจักษ์  การถ่ายทอดความรู้  การบริหารจัดการ
<!--[if !supportLists]-->4.2.4     <!--[endif]-->มีความสามารถในการบริหารงาน ความสามารถที่จะศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
<!--[if !supportLists]-->4.2.5   <!--[endif]-->มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีในด้านจริยธรรมทางการแพทย์ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม และประกอบวิชาชีพอย่างสุจริตและเสียสละ
              จุดเด่นหรือจุดแข็งของหลักสูตร เนื้อหาภาคทฤษฏีมีความเป็นบูรณาการตั้งแต่ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ นำมาเชื่อมโยงความรู้ด้านจิตเวชศาสตร์ทั้งพื้นฐานและวิทยาการใหม่ๆให้ก้าวทันยุค รวมทั้งความรู้ทางมนุษย์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก ด้านกระบวนการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ นักศึกษาจะได้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการกู้ชีพระยะวิกฤติ ฝึกการทำงานเป็นทีมสุขภาพจิตในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ฝึกทักษะการสื่อสารโดยผ่านกระบวนการการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยต่างแผนกที่รับไว้ในโรงพยาบาล ฝึกทักษะการทำจิตบำบัดระยะยาวเพื่อให้มีการปรับปรุงทัศนคติและบุคลิกภาพของตนเอง  ฝึกการเขียนโครงร่างวิจัย ทำวิจัย และเขียนผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
  7. กำหนดการเปิดสอน
    จะเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1   ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  8. สถานะหลักสูตร
    เปิด
  9. อาจารย์
   
9.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล

9.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. สุรพล วีระศิริ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. นิรมล พัจนสุนทร (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)

9.3 อาจารย์ผู้สอน
 
ศ. สุชาติ พหลภาคย์ 2
ศ. เจศฏา ถิ่นคำรพ 3
ศ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ 3
รศ. สุรพล วีระศิริ 5
รศ. พูนศรี รังษีขจี 5
รศ. นิรมล พัจนสุนทร 6
รศ. บุญส่ง พัจนสุนทร 6
รศ. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล 6
รศ. สมศักดิ์ เทียมเก่า 6
รศ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล 6
รศ. สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล 6
อ.ดร. บุษบามินตรา ฉลวยแสง 10
อ. ภัทรี พหลภาคย์ 11
อ. พงศธร พหลภาคย์ 11
อ. กนิดา ทัศนิยม 11
อ. อัจฉรา รวมเจริญเกียรติ 11
อ. กุศลาภรณ์ วงษ์นิยม 11

     
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
1. บังคับทั่วไป 7 หน่วยกิต
2. เฉพาะสาขา 41 หน่วยกิต



 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940