Custom_32
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ปกติ
 
     
  1. ชื่อหลักสูตร
   
ภาษาไทย ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ภาษาอังกฤษ Higher Graduate Diploma Program in Clinical Medical Sciences Program in Rehabilitation Medicine
  2. ชื่อปริญญา
   
ภาษาไทย
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (เวชศาสตร์ฟื้นฟู)
ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (เวชศาสตร์ฟื้นฟู)
ภาษาอังกฤษ
Higher Graduate Diploma in Clinical Medical Sciences (Rehabilitation Medicine)
Higher Grad. Dip. in Clinical Medical Sciences (Rehabilitation Medicine)
  3. ระดับการศึกษา
    ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
  4. สังกัดคณะ
    คณะแพทยศาสตร์
  5. สังกัดภาควิชา/สาขาวิชา
   
  6. วัตถุประสงค์
    หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชา          เวชศาสตร์ฟื้นฟู มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
4.3.1 เป็นแพทย์ที่มีความรู้ ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและอื่น ๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย ด้านการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย ด้านบริหารจัดการผู้ป่วยและทีม ด้านการวิเคราะห์วิจัย เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย/ผู้พิการ
4.3.2 เป็นแพทย์ที่มีทักษะ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ การประเมินวิเคราะห์ปัญหาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เหมาะสมและครอบคลุม รู้จักใช้วิทยาการและวิจารณญาณอย่างเหมาะสม บริหารทีมและทำงานร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สื่อสารกับผู้ป่วยเข้าใจและกับผู้ร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการทรัพยากรและข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนางานและองค์ความรู้ใหม่         ที่นำมาใช้บำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วย/ผู้พิการได้
4.3.3 เป็นแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ใฝ่รู้ ติดตามวิทยาการใหม่ๆ มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ มีความสุขและมีใจรักการทำงาน อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักศึกษาแพทย์  ผู้ร่วมงาน และบุคคลทั่วไป
จุดเด่นของหลักสูตรนี้ที่แตกต่างจากหลักสูตรอื่น คือนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติประยุกต์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาใช้ในงานด้านบริการของการแพทย์ และฝึกทักษะร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการติดตาม ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดระยะเวลา 2 ปีการศึกษา ทำให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานจริงภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติงาน
  7. กำหนดการเปิดสอน
    จะเปิดดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1   ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  8. สถานะหลักสูตร
    เปิด
  9. อาจารย์
   
9.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
 
ผศ. ปรีดา อารยาวิชานนท์
ผศ. เสมอเดือน คามวัลย์
อ. เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ

9.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
ผศ. ปรีดา อารยาวิชานนท์ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
ผศ. เสมอเดือน คามวัลย์ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
อ. เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)
- นลินทิพย์ ตำนานทอง (ประจำแล้ว 0 หลักสูตร)

9.3 อาจารย์ผู้สอน
 
ศ. เจศฏา ถิ่นคำรพ 3
ศ. รัตนวดี ณ นคร 3
ศ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ 3
รศ.ดร. น้อมจิตต์ นวลเนตร์ 4
รศ. บุญส่ง พัจนสุนทร 6
รศ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล 6
ผศ. กิติวรรณ วิปุลากร 8
ผศ. นันทยา อุดมพาณิชย์ 9
ผศ. ณิชานันทน์ ปัญญาเอก 9
ผศ. ณัฐเศรษฐ มนิมนากร 9
ผศ. เสมอเดือน คามวัลย์ 9
ผศ. ปรีดา อารยาวิชานนท์ 9
อ.ดร. บุษบามินตรา ฉลวยแสง 10
อ. เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ 11

     
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
1. บังคับทั่วไป 7 หน่วยกิต
2. เฉพาะสาขา 41 หน่วยกิต



 
กลุ่มภารกิจพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร 043 203200 ภายใน 11940