ชื่อบทความ |
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเบาหวาน |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
26 ตุลาคม 2555 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
กรมการแพทย์ |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
วารสารกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข |
ISBN/ISSN |
0125-1643 |
ปีที่ |
38 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2556 |
หน้า |
12 |
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยคัดสรรกับการทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ามารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2554-มกราคม 2555 กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 324 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสัมพันธภาพของครอบครัว แบบประเมินความรู้ครอบครัว แบบประเมินทัศนคติครอบครัวและแบบประเมินการทำหน้าที่ครอบครัว เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน นำมาทดลองใช้และหาความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.78, 0.84, 0.82 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.7 อายุมากกว่า 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 42.9 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 58.6 มีรายได้ของครอบครัวน้อยกว่า 5,000 บาท/เดือนร้อยละ 56.8 เป็นครอบครัวเดี่ยวร้อยละ 70.4 มีความสัมพันธ์แบบสามี ภรรยาร้อยละ 42.0 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ75.0 ค่าเฉลี่ยอายุของผู้ป่วยเบาหวาน53.8และค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่เจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานเท่ากับ 3.9 ปี (S.D.= 2.2)คะแนนรวมการทำหน้าที่ของครอบครัวคิดเป็นร้อยละ73.5 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 5 ลำดับแรกได้แก่ ทัศนคติ (r=0.737, P<0.001) สัมพันธภาพ (r=0.416, P<0.001) ความรู้ (r=0.377, P< 0.001) อาชีพ (r=0.186, P<0.001) และรายได้ (r=-0.143,P<0.001) ปัจจัยคัดสรรที่สามารถร่วมกันทำนายการทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ร้อยละ 63.7 (R2=0.643, R2adjusted=0.637, F=114.34, P<0.001) ประกอบด้วย ทัศนคติ ความสัมพันธ์แบบบิดามารดา ความสัมพันธ์แบบเพื่อนบ้านและรายได้ครอบครัว โดยทัศนคติสามารถทำนายได้สูงที่สุดร้อยละ 54.2 ดังนั้นการศึกษาต่อไปควรหาแนวทางเสริมสร้างทัศนคติของครอบครัวให้สามารถทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพสมาชิกที่โรคเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
คำสำคัญ |
การทำหน้าที่ครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2, การทำหน้าที่ครอบครัว |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|