2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาแนวทางสำหรับเกณฑ์ในการออกแบบหน้าตัดของทางหลวงจากปริมาณจราจรโดยใช้แบบจำลองระดับจุลภาค 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มีนาคม 2555 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การขนส่งแห่งชาติครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพมหานคร, คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรม เดอะไทด์ รีสอร์ท 
     จังหวัด/รัฐ ชลบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มีนาคม 2555 
     ถึง 6 มีนาคม 2555 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2555 
     Issue (เล่มที่) NTC8-011 
     หน้าที่พิมพ์ 264-271 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันขนาดของทางหลวงมีส่วนสำคัญในด้านต่างๆของการคัดเลือกสายทางหลวงในประเทศไทย เพราะขนาดของถนนสะท้อนถึงต้นทุนในการก่อสร้างและเพื่อให้สามารถคัดเลือกสายทางได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องเลือกขนาดของถนนให้สอดคล้องกับปริมาณจราจรบนสายทางด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเกณฑ์ในการออกแบบหน้าตัดของถนนจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกขนาดหน้าตัดของถนนได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการใช้งานมากที่สุด งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อหาเกณฑ์ในการออกแบบขนาดหน้าตัดของถนนให้เหมาะสมกับปริมาณจราจรบนเส้นทางนั้นๆ โดยคำนึงถึงการใช้งานจริง ซึ่งมีผลกระทบจากระดับความถี่ของทางเชื่อม โดยระดับความถี่ของทางเชื่อมนี้มีผลอย่างยิ่งกับความจุของทางหลวงเส้นนั้นๆ ซึ่งการคัดเลือกขนาดหน้าตัดถนนนั้นจะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในการวิเคราะห์ โดยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพของถนน, ความเร็วที่ใช้บนถนนนั้นๆ รวมทั้งพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อวิเคราะห์หาระดับความจุ ระดับการให้บริการสำหรับขนาดหน้าตัดที่เหมาะสมของถนนแต่ละประเภท จากการวิเคราะห์จะทำให้ได้เกณฑ์การออกแบบขนาดหน้าตัดของถนนจากปริมาณจราจรบนถนนแต่ละประเภท และจากการศึกษาพบว่าจำนวนของทางเชื่อมมีผลอย่างมากต่อความจุของถนน ซึ่งความหนาแน่นของทางเชื่อมเพิ่มมากขึ้นยิ่งส่งผลให้ความจุของถนนลดลง 
ผู้เขียน
535040030-0 นาย ปิยวัฒน์ ทองเกรียว [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0