ชื่อบทความ |
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 กรกฎาคม 2556 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารศึกษาศาสตร์ |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
0875-1511 |
ปีที่ |
36 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2556 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ผลการวิจัยดังนี้คือ
1. พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรม 3 ขั้นดังนี้ 1) ขั้นนำ เป็นการสร้างความสนใจ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ ในขั้นนี้ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และทบทวนความรู้เดิม เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่จะเรียนต่อไป 2) ขั้นสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ในการแก้สถานการณ์ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมจากสถานการณ์ปัญหาที่ครูเตรียมไว้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ซึ่งมี 4 ขั้น คือ ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นวางแผนแก้ปัญหา ขั้นดำเนินการตามแผน และขั้นตรวจสอบ (2) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย ให้นักเรียนเข้ากลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนเองต่อกลุ่มย่อย จากนั้นจึงอภิปรายและสรุปเป็นความคิดของกลุ่ม โดยพิจารณาคัดเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แล้วบันทึกลงในบัตรกิจกรรมกลุ่มย่อย เพื่อเป็นคำตอบในการเสนอต่อกลุ่มใหญ่ (3) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มใหญ่ นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงาน สรุปความรู้ที่ได้ แล้วให้กลุ่มอื่นๆช่วยกันอภิปรายหรือเสนอแนะเพิ่มเติม (4) ขั้นสรุป ในขั้นนี้นักเรียนร่วมกันสรุปสาระหรือแนวคิด หลักการ เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด และครูช่วยสรุปเพิ่มเติม ถ้าเห็นว่านักเรียนสรุปได้ไม่ครอบคลุมเนื้อหา (5) ขั้นนำไปใช้ โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะต่างๆ จากสถานการณ์ที่กำหนดด้วยตัวเอง เมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละครั้ง 3) ขั้นวัดและประเมินผล เป็นขั้นที่ประเมินความรู้ความเข้าใจแต่ละครั้ง จากผลงานของนักเรียน แบบฝึกทักษะ และการร่วมกิจกรรมผลที่ได้จากการสังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกการทำงานร่วมกัน มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน กล้าแสดงความคิดเห็น มีความสุขในการร่วมกิจกรรม ได้พัฒนาทักษะทางสังคม ได้ฝึกความรับผิดชอบและความเป็นระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 78.75 และนักเรียนจำนวนร้อยละ 75.00 ของนักเรียนทั้งหมด
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.83
3. นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จากแบบทดสอบการวัดทักษะการแก้ปัญหา
ดังนี้ 1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.19 2) ขั้นวางแผนแก้ปัญหา นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.82 3) ขั้นดำเนินการตามแผน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.51 4) ขั้นตรวจสอบ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.56 และคะแนนเฉลี่ยทั้งชั้นร้อยละ 81.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.42
|
คำสำคัญ |
รูปแบบการสอนคอนสตรัคติวิสต์, ทักษะการแก้ปัญหา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|