ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
3 กันยายน 2556 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครั้งที่ 3 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
สถานที่จัดประชุม |
อาคาีรสัมมนา 1,2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพฯ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
3 กันยายน 2556 |
ถึง |
4 กันยายน 2556 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2556 |
Issue (เล่มที่) |
P-ST003 |
หน้าที่พิมพ์ |
168 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของการศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนและแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลจำนวน 2 สัปดาห์ แบ่งเป็นช่วงที่มีกิจกรรมกีฬาสีและช่วงที่ทำการเรียนการสอนตามปกติ จำนวน 9 จุดเก็บตัวอย่างที่จัดตั้งถังรองรับขยะมูลฝอย และการใช้แบบสอบถามในการสำรวจความคิดเห็นด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 กลุ่ม คือ ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และบุคลากร ศึกษาประเด็นที่สำคัญคือ สภาพการจัดการขยะมูลฝอย ปัญหาการจัดการ และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม SPSS ver.11.5 และโปรแกรม Microsoft Excel 2007 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าความถี่ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในช่วงมีกิจกรรมกีฬาสี 0.11 กก./คน/วัน และช่วงทำการเรียนการสอนตามปกติ 0.056 กก./คน/วัน องค์ประกอบของขยะมูลฝอยในโรงเรียนอนุบาลขอนแก่นส่วนใหญ่เป็นพลาสติก กระดาษ คิดเป็นร้อยละ 41.80 และ 40.62 ตามลำดับ ส่วนข้อคิดเห็นที่ได้จากแบบสอบถามในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน พบว่า นักเรียนระดับอนุบาล และบุคลากรมีความเห็นว่าแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยมาจากแม่ค้าข้างรั้วโรงเรียน ร้อยละ 39 และ 44.3 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าถังรองรับขยะไม่เพียงพอ ร้อยละ 80.9, 70.3, 69.5 และ 86.1 ตามลำดับ ประเภทขยะมูลฝอยที่พบเห็นมากที่สุดนักเรียนระดับอนุบาล ระดับประถมตอนต้นและระดับประถมตอนปลายมีความเห็นว่า พลาสติกร้อยละ 87.6, 72.5 และ 77.2 ตามลำดับ ส่วนข้อคิดเห็นด้านปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอย นักเรียนระดับอนุบาล ระดับประถมตอนปลาย และบุคลากรเห็นว่า ปัญหาที่เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยจะทำให้สภาพพื้นที่โรงเรียนดูไม่สะอาดตา คิดเป็นร้อยละ 28.5, 28.5 และ 67 ตามลำดับ นักเรียนระดับอนุบาลและระดับประถมตอนปลายให้ข้อคิดเห็นว่า มีสาเหตุมาจากการทิ้งขยะไม่ถูกที่มากที่สุดร้อยละ 55.8 และ 48.1 ตามลำดับ ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นและบุคลากร มีความเห็นว่าการเกิดขยะมูลฝอยมาจากความมักง่ายขาดจิตสำนึกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 42.1 และ 77.4 ตามลำดับ นอกจากนี้ในกลุ่มนักเรียนระดับประถมตอนปลาย และบุคลากรมีความเห็นว่า แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับโรงเรียน คือ การใช้นโยบายสนับสนุนในการจัดโครงการธนาคารขยะ ร้อยละ 29.8 และ 33 ตามลำดับ และทุกกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในโรงเรียนทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 94, 86.7, 89.4 และ 100 ตามลำดับ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
รางวัลดีเด่น การนำเสนองานวิจัยแบบโปสเตอร์ |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
3 กันยายน 2556 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|