ชื่อบทความ |
การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 3 รอบ เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในประชากรแตงกวา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
22 พฤษภาคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารแก่นเกษตร |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
0125-0485 |
ปีที่ |
42 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงประชากรแตงกวาเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มความต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อการคัดเลือกในประชากรที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 3 รอบ ทำ 2 การทดลองโดยปลูกทดสอบ ณ ไร่ชนม์เจริญฟาร์ม บ. เจียไต๋ จำกัด ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2556 การทดลองที่ 1 เป็นการประเมินระดับความรุนแรงของอาการโรคภายใต้สภาพโรงเรือน วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ การทดลองที่ 2 เป็นการประเมินผลผลิตแตงกวา วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ จากผลการศึกษา พบว่า ระดับความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น โดยประเมินจากคะแนนค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการโรคในประชากรเริ่มต้น (M0) ลดลงจาก 2.79เป็น 2.12 คะแนน ในประชากรสุดท้าย (M3)ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อรอบการคัดเลือกลดลง-0.25**ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าใช้การปรับปรุงพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์สามารถเพิ่มระดับความต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองได้ และประชากรที่ผ่านการคัดเลือกนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง ในการผลิตสายพันธุ์แท้เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมของแตงกวาได้ |
คำสำคัญ |
Cucumis sativus L. Begomovirus การปรับปรุงพันธุ์ ความก้าวหน้าในการคัดเลือกพันธุ์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|