ชื่อบทความ |
ผลของอายุเก็บเกี่ยวและวิธีการทำให้สุกต่อปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้าน อนุมูลอิสระในข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 พฤษภาคม 2557 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารแก่นเกษตร |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
42 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2557 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เป็นข้าวโพดรับประทานฝักสดพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ในด้านส่งเสริมสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและความคงตัวของสารออกฤทธิ์ภายใต้สภาวะต่างๆ ยังมีจำกัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลของอายุเก็บเกี่ยวและกระบวนการทำให้สุกต่อปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง จากการศึกษา พบว่าซังข้าวโพดมีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่าเมล็ด และปริมาณแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้นตามอายุเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น การศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณวิเคราะห์แอนโทไซยานินด้วยวิธี HPLC-ESI/MS พบว่า cyanidin-3-glucoside เป็นแอนโทไซยานินที่เป็นองค์ประกอบหลักในเมล็ดและซังข้าวโพด รองลงมา คือ cyanidin-3-(6’’-malonylglucoside) และ cyanidin-3-(3’’,6’’-dimalonylglucoside) ตามลำดับ ข้าวโพดที่ทำให้สุกโดยการนึ่งมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระคงเหลือในเมล็ดสูงกว่าการต้ม เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ไม่ผ่านการให้ความร้อน นอกจากนี้ ข้าวโพดทั้งฝักที่ผ่านการนึ่งด้วยไอน้ำเดือดมีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกอายุเก็บเกี่ยวและกระบวนการทำให้สุกเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการในข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง |
คำสำคัญ |
ระยะสุกแก่, การนึ่ง, cyanidin 3-glucoside, ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ, Zea mays L. |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|